วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Attended the book launch talk by Dr. Piriya Krairiksh




This evening (21 Nov 2012), I went to Asian House in London post code W1G 7LP. This place is nearby Oxford Circus but take at least ten minutes walk to there. I attended the book launch talk by Dr. Piriya Krairiksh (ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์) in topic The Roots of Thai Art. I knew this event via Face Book social network, someone created this event and invited me through FB. First time, I saw the post, the topic of talk attracted my interest a lot and I promised with myself that I will join in. I did reply on FB accepting to go to this event immediately, even I had to pay 8 pounds for ticket.

I arrived there around 6.45 pm. (talk started 6.45 pm.), with the feeling of frustrating because I was getting lost and it took me long time for finding Asia House. Finally, I reached there quite on time, I think. At Asia House on the first floor, which the attendant had to walk upstairs as the second floor. The pretty and luxury room with a huge and gorgeous chandelier was hanged on the ceiling. Many people at least fifty in formal suit and dress were sitting on the chair. It almost had not space left for pretty late person like me but I survived to sit on the chair in the third line from the back.

Dr. Piriya presented his new book The Roots of Thai Art, which was translated by Narisa Chakrabongse. The presentation was repented via Power Point and talked by the author, its took forty minutes longs. I quite a bit disappointment about the talk because the speaker only gave information in one aspects of Thai Art. He presented  the relationship between religious and Thai Arts. He proposed the hypothesis that to understand the roots of Thai Art the scholar or researcher has to know and explore religious. The religious reflects the arts in Thailand. Actually, I agree with his hypothesis but I think it was quite roughly conclusion as they use the title The Roots of Thai Art. I think that they could provide more extensive evaluation of the relationship between Thai Art and other issues much more than only religious point. Regarding to the author assumption, it shaped the author talked and show the surface of Thai Arts and the method that he used for researching this work. He just represented the comparison of Buddha images from different source and period such as Thailand, Cambodia, China , Indonesia and also Japan sometime. Then, he stated that all these had influence each other and it affected to all art in Southeast Asia.

The talked ended with my confusing and had a very small questions from the attendants. However, this work demonstrated the great effort and the passion of the author in Thai Arts. Dr. Piriya contributed to Thailand and Thai Art in sense of dissemination Thai Arts to the world at least in the UK.

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

จาก Quote ของ Albert Einstein



"Imagination is more important than knowledge. For knowledge is limited to all we now know and understand, while imagination embraces the entire world, and all there ever will be to know and understand." (Albert Einstein)

โดยส่วนตัว ชั้นชอบ Quote ของ Albert Einstein อันนี้มาก เเละบังเอิญว่า เมื่อวันอังคาร 6 Nov ที่ผ่านมา ได้เข้าเรียนวิชา Creativity, Motivation and Personal Effectiveness โดย Dr. Steve Hutchinson ก่อนหน้าที่จะเรียนวิชาหน้า ชั้นรู้จักและได้ยินคำคมนี้มาก่อนแล้ว แต่ตอนนั้นมันเป็นแค่แบบสั้น ๆ คือ ไม่มีส่วนขยายที่เป็นด้านหลัง ว่า ไอน์สไตน์ หมายความถืงอะไร.. แต่พอชั้นมาเจอ Quote แบบเต็ม ๆ อย่างนี้ ในรายวิชานี้ ความคิดเกี่ยวกับความหมายต่าง ๆ เหล่านี้ก็กลับมาอีกครั้งหนึ่ง

วิชา Creativity, Motivation and Personal Effectiveness ที่ฉันเรียนมันไม่ได้เป็นวิชาที่ต้องอาศัยความรู้อะไรมากนัก แต่ต้องอาศัยความเข้าใจและการเปิดใจยอมรับความใหม่ในเเง่ของความคิดเป็นอย่างมากเลยที่เดียว เนื้อหาหลัก ๆ ของวิชานี้ คือต้องการสอน และบอกเราให้รู้ว่า "ความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจมันสามารถสร้างและเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ กับทุก ๆ คน ขอแค่ให้คุณคิด มอง และลงมือปฏิบัติในมุมที่แตกต่างเท่านั้น แล้วคุณจะพบว่าความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณเองนั้นมันมีมากเกินกว่าที่คุณจะคาดถึงเสียอีก" แต่อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจได้นั่นก็คือ "ความกล้า ที่ไม่ใช่บ้าบิ่น" กล้าที่จะคิด จะทำ ในสิ่งที่ต่าง มากกว่ากลัวที่จะเริ่มจะลองในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำกัน เหมือนดั่งคำเปรียบที่เราอาจจะได้ยินติดหูอยู่บ่อย ๆ คือ "แปลกแต่ไม่ประหลาด" เพระาฉะนั้นต้องแยกให้ออกชัดเจนว่าอย่างไรคือกล้าแล้วสร้างสรรค์กับอย่างไรคือกล้าแล้วบ้าบอคอแตก...การลงมือปฎิบัติด้วยความเชื่อมั่น ก็เป็นขั้นตอนต่อไปของการนำมาซึ่งความสำเร็จในการทำงาน หรือทำสิ่งต่าง ๆ หากเรามีความคิดสร้างสรรค์แล้ว มีแรงบันดาลใจที่ดีเยี่ยมแล้ว แต่ขาดความเชื่อมั่นที่จะลงมือทำ เป้าหมายแห่งความสำเร็จที่ตั้งใจไว้คงมาถึงเรายากเช่นกัน...ดังนั้นความเชื่อมั่นและความมีศรัทธาทั้งต่อความสามารถของตนเองและสิ่งที่กำลังทำอยู่จึงเป็นบันไดแห่งความสำเร้จในขั้นต่อไปเช่นกัน..

การเขียนบล๊อกในครั้งนี้ เป็นเพียงการพยายามที่จะจดจำ อธิบายและบันทึกในสิ่งที่ได้เรียนได้รู้สึกมาเท่านั้นเพื่อเป็นการย้ำและบอกตนเองเป็นนัยยะว่า ควรที่จะปฏิบัติตนอย่างไรต่อการเรียนและการทำงานในอนาคต...ก็เท่านั้น


วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทความน่าสนใจจากบางกอกโพสต์


Discussing cultural identity

A Thai art exhibition in Singapore explores finding a way forward while preserving the past

Writer: Judha Suwanmongkol







A week before the massive exhibition "Thai Trends" ended at Bangkok Art and Culture Centre, chief curator Prof Apinan Poshyananda moved a few steps away from the Thai capital to the city state of Singapore. He orchestrated "Thai Transience" at Singapore Art Museum, an exhibition that opened on Oct 26 and runs until Jan 6. The showcase is part of the Thai Cultural Festival organised by Singapore's National Heritage Board, which continues until February.
A work by Krit Ngamsom in the foreground and Untitled (Invisible Ink) by Pratchaya Phinthong on the wall.
Thai Transience can be seen as a continuation of Thai Trends, yet an abridged version of it. There are 25 Thai artists whose works are featured along with selected Thai historical artefacts. The juxtaposition of Thai contemporary art and Thai craft is risky, since the strategy could be read merely as a collection of ancient relics mixed with modern works, but without any real dialogue _ I mean risky, yet challenging.
Apinan calls the distinction between art and craft, a division propagated by Western art historians, irrelevant. Once again, his view implicitly leads to the question of definitions or identities of "Thainess" _ despite the word "Thai" being in the show's title. Prominent in the group is Rirkrit Tiravanija. The artist, world-famous for cooking at exhibitions, was tipped off by the curator to trace back to the work of Khrua In Khong, a Thai monk painter in the reigns of Rama III and IV. Through it Rirkrit came up with a new work, Freedom Cannot Be Simulated (2012) _ a reminder of the word sign he created for the facade of the Jack Chiles Gallery, New York, in July this year. The white chalk drawing on black walls mocks the style of Khrua In Khong's Ramayana drawing _ thank Lord Buddha, we don't need to eat anything in the museum this time. It is a revisiting of the ancient style without any serious reinterpretation.
On another wall in the same room is a The Raft Of The Medusa-style drawing with the wording: "We don't believe in Thai flood" _ as if an echo of Banksy's graffiti "I don't believe in global warming" on the wall next to Regent's canal in London.
Female Artist , by Imhathai Suwattanasilp, together with an old manuscript on the right.
The name comes first _ the name, then the work? Rirkrit's fame has made him a fixture in many group exhibitions representing the Thai art scene. Meanwhile, Apichatpong Weerasehthakul sends his dreamy, ghostly video The Phantom Of Nabua, which depicts a village in the Northeast in a way that's real and hallucinatory.
Then we have Araya Rasdjarmrearnsook's fabulously titled Village And Elsewhere: Artemisia Gentileschi's Judith Beheading Holofernes, Jeff Koons' Untitled And Thai Villagers (2011), a nearly 20-minute video in which Thai villagers are invited to comment on two famous Western artworks mentioned in the title. It is a work of biting humour, which is Araya's signature. All three works are solid on their own, having whole rooms to themselves.
The juxtaposition of the new and the old, as I mentioned before, is a more interesting point. The coloured rooms in Thai Trends did not work very well since a large number of featured works in each room meant it was impossible to find artistic coordination and match-ups. But the attempt seems quite impressive in Thai Transience. Maybe less is better.
The brown-coloured room representing northeastern Thailand's heritage and artists is a good example. Old stone sculptures in the shape of animals, along with Ban Chiang's archaeological pottery, respond visually and contextually to paintings by Thawee Ratchaneekorn, Chokchai Tukpoe, and sculptures by Prasit Wichaya. Works of art alone will never give such a dry and dynamic texture, so old stone figures of toads, crocodiles, and real salt litter the middle of the room to intensify the lively yet rough feeling of the Northeast. Another example is the green room: Traditional Thai paintings, old religious scriptures and Buddha sculptures contrast as well as complement Yuree Kensaku's paintings, which narrate stories about belief and religion in vivacious pop-colour. There's more than one way to discuss Buddhism, obviously.
An ancient manuscript (from the Rattanakosin period, c.1911-1946) tied by many little braids made of hair is intriguing next to Imhathai Suwattanasilp's hair-knitting works _ they're visually compatible. Imhathai's My Father's Pigtail, made from the hair of the artist's father is a mirror of the hair on the manuscript. The artist also shows My Father's Pillow, a coffin-sized bed, and Female Artist, an installation piece also made of knitted hair. The latter represents a kind of female sickness _ altogether, her works give an air of life nearing death, or of death coming to life.
The other female artist, Bussaraporn Thongchai's Me & Mum, You & Me, I Miss You (2012), is a drawing on the wall showing the image of linga matching with a yoni _ a vagina _ stone carving from Mahachai Temple in the Ayutthaya period. The meeting of the two genitalia sounds like a happy ending, yet, I think, it's problematic. A female artist talking about sex doesn't always lead to the concept of feminism _ just like any "ism" in Thailand used without constructive criticism. The portrayal of Bussaraporn's lovers remains in the patriarchal thinking, since it identifies herself by the existence of those men.
A conceptual work that questions the authority of art and its transient (dis)appearance is Pratchaya Phinthong's Untitled (Invisible Ink), which the Thai artist collaborates with a Singaporean assistant. It's just a splatter of colour on a white cube, which represents the institutionalisation of art. No dialogue with any ancient craft, yet it's outstanding and provoking _ art should be somehow disturbing, rather than tame, and this one performs that function.
Thai Transience features a clear curatorial process and has a conceptual strategy that can fail as much as fascinate. It's unfortunate, however, that interesting and debatable Thai art exhibitions sometimes take place far away from Thai borders. This leads us to another question about art policy, how the government values and sponsors contemporary art, and in what condition. Undeniably, some seeds can grow better in a foreign field where art doesn't need to prove its pre-ordained functionality.
Perhaps, this is what Apinan means by mentioning the "soft power of art". Good art politically affects society without the need to declare any rough political statement. Viewed from a different angle but probably born of the same paradigm, this is an attempt to discuss national/cultural identity, the so-called "Thainess". But then again, is it really relevant? The question is ephemeral yet acceptable, but the answer is maybe unnecessary. As the name of the exhibition suggests, it can be implied that there is no such rigid, last-forever definition of ourselves or themselves.
The Thai title of Thai Transience is Thai Lai Ning, which is borrowed from the phrase nam lai ning ("still, flowing water", as translated by revered monk Chah Bhikku), shows what we choose to put close to us, and what is still far away. The juxtaposition of old and new establishments urges us to contemplate new meanings, at least for me, and not to readily believe, but to look outside our own sphere of knowledge. To see and be seen.
The green room.
Writer: Judha Suwanmongkol






วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ในห้วงของความคิด จากความทรงจำที่สวยงาม

วันนี้อยู่ดีๆ ก็เกิดนึกถึงใครบางคนขึ้นมา เป็นคนที่เคยยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ ผ่านขมผ่านหวานด้วยกันมานานมาก แต่วันนี้ทางของเรามันไม่สามารถมาบรรจบกันได้จริง เค้าเหมือนภาพที่ เลือนหายไปในความทรงจำของชั้นมาตั้งนานแล้วนะ แต่ก็ไม่รู้ทำไมวันนี้ภาพเหล่านั้นมันกลับมาอีกครั้งหนึ่ง.....

อย่างที่ใครหลาย ๆ คนเคยพูดไว้นั่นแหล่ะ .... "ความรู้สึกของมนุษย์เป็นเรื่องที่เข้าใจยากที่สุด"...มันเหมือนกับว่า ตัวเราพยายามที่จะเข้าใจตัวเองให้มากที่สุด หรืออาจจะเป็นการหลอกตัวเองมากกว่าว่าเราเข้าใจและรู้จักตัวเองมากที่สุด  ข้อนี้ชั้นก็ไม่สามารถสรุปได้เช่นกัน..แต่อย่างหนึ่งที่ชั้นบอกได้จากเรื่องราวของตัวชั้นเอง คือ ความรู้สึกของตัวชั้นเองมันดูเหมือนว่าจะไม่เป็นใจให้ชั้นเข้าใจมันเลยสักนิดเดียว...

เรื่องราวของเราสองคนมันผ่านมานานมากแล้ว นานเสียจนไม่น่าที่จะจำมันได้อีกต่อไป หลายมุมของความรู้สึก ทั้งสุข ทุกข์ ทีเคยผ่านมาด้วยกันมันถูกพับเก็บและซ่อนไว้ลึกสุดของห้วงความรู้สึก  ยิ่งกว่าเสื้อผ้าเก่าในสมัยวัยเด็กที่เราเคยใส่เล่นและเราก็โปรดปราณมันมากที่สุด  แต่ถึงอย่างไรวันนี้เราก็โตเกินกว่าที่จะกลับไปใส่เสื้อผ้าชิ้นน้ันอีกครั้ง สิ่งที่เราเลือกทำ คือ พับมันเก็บไว้ในซอกหลืบหนึ่งของกล่องเก็บเสื้อผ้าเก่า ที่อาจจะไม่มีวันถูกเปิดขึ้นมาใช้อีกครั้งเลยก็ได้ แทนที่เราจะโยนมันทิ้งไป หรือส่งต่อให้กับคนอื่น นั่นเพียงเพราะเรา...รู้สึกว่า เสื้อผ้าชิ้นนั้นมันถูกเติมเต็มไปด้วยความงดงามของความทรงจำช่วงหนึ่งของชีวิตนั่นเอง

มีใครบางคนพยายามจะบอกชั้นว่า..."หากชั้นรู้สึกกับอดีตเหล่านั้น แสดงว่าชั้นกำลังยึดติด และจมกับภาพในอดีต มันจะทำให้ชั้นเป็นทุกข์เพราะการที่ชั้นไม่ยอมเอาใจมาไว้กับปัจจุบัน" ... ชั้นเห็นด้วยกับคำพูดนี้เป็นที่สุด ไม่ได้คิดโต้แย้งในเชิงเเนวคิดเลยแม้แต่น้อย  หากแต่ในกรณีที่ความรู้สึกเเบบนี้เกิดขึ้นกับตัวชั้นเอง ชั้นก็ไม่แน่ใจว่านี่เรียกว่าทุกข์หรือไม่? ชั้นรู้สึกอยู่กับภาพปัจจุบัน ชั้นอยู่ ชั้นคิด ชั้นเห็น ชั้นเข้าใจและชั้นยอมรับในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับตัวชั้นเองในตอนนี้ โดยไม่ทันได้รู้สึกว่าภาพความทรงจำเก่า ๆ เหล่านั้นที่ผุดขึ้นมา มันมาทำให้ชั้นทุกข์

ฟังดูแปลกและน่างุนงงไม่น้อย...แต่นั่นแหล่ะ ก็คือชีวิต ก็คือความรู้สึกของมนุษย์นั่นแหล่ะ...มันไม่สามารถหาสูตรใดที่ตายตัวว่า เราต้องรู้สึกเช่นนั้น เช่นนี้ หากแต่มันผันแปรไปตามจิต และสถานการณ์รอบข้างได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับรู้ ยอมรับและปล่อยความรู้สึกนั่นไปได้เร็วขนาดไหนต่างหาก

ชั้นยอมรับว่าคิดถึงภาพวันวานเหล่านั้น แต่ชั้นไม่ทุกข์กับภาพเหล่านั้น ชั้นแค่ยิ้มกับมัน ร้องไห้กับมันและปล่อยให้มันเล่นตลกไปกับความรู้สึกของชั้นบ้างแค่สักเสี้ยวนาที เพราะถึงอย่างไรชั้นก็ยังรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งสวยงาม มันเป็นความรู้สึกที่หาซื้อไม่ได้ตามท้องตลาดเหมือนผักปลา และมันก็ไม่สามารถสร้างหรือเกิดขึ้นได้เพียวแค่ชั่วนาที หากแต่มันได้ผ่านการเพาะบ่มในใจเรามานานแสนนาน นานพอที่จะตกตะกอนอยู่ในความทรงจำ เพราะฉะนั้นการที่เราจะโหยหา หรือชื่นชมกับภาพอดีตเหล่านั้นบ้างก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกหรือผิดแต่อย่างไร หากเรายังเป็นเพียงมนุษยปุถุชน ที่ยังคงวนเวียนอยู่ในวัฏฏะเเห่งรัก โลภ โกรธและหลง



วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

"ละคร และ ลิเก มหรสพที่ถือเป็นพระราชนิยมอย่างหนึ่ง ได้เล่นถวาย รัชกาลที่ ๕ เมื่อคราวเฉลิมพระที่นั่งวิมานเมฆ"


เล่น facebook แล้วคุณณัฐดนัย จันทร์เสมานนท์ ได้โพสต์ไว้..เห็นมีประโยชน์มาก จึงคิดว่าจะเป็นการดีถ้าเอามาเก็บไว้ใน Blog ด้วย



"ละคร และ ลิเก มหรสพที่ถือเป็นพระราชนิยมอย่างหนึ่ง ได้เล่นถวาย รัชกาลที่ ๕ เมื่อคราวเฉลิมพระที่นั่งวิมานเมฆ"
***************
พอดีค้นคว้าเกี่ยวกับวังสวนกุหลาบ ดันมาเจอข้อมูลดีๆ เข้า เลยเอามาแบ่งปันกันให้ทราบถึงความเป็นมาของ "สวนดุสิต-พระที่นั่
งวิมานเมฆ-และ ความสำคัญของ "ลิเก" ซึ่งในราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้ แสดงให้เห็นว่า "ละคร และลิเก" ในสมัยนั้น เป็นพระราชนิยมอย่างหนึ่งของพระบรมวงศานุวงศ์ ไม่เหมือนกับในปัจจุบัน ที่คนไทยมักเหยียด หรือกระอักกระอ่วนใจเมื่อพูดถึงลิเก

*******************
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่จะสร้างสถานที่สำหรับประพาส และประทับแรม เพื่อเป็นที่สำราญพระราชหฤทัย เจริญพระราชอิริยาบถ และเพื่อให้สถานที่นี้เป็นที่อันงดงาม เป็นเกียรติเป็นศรีแก่พระนคร อีกสาเหตุหนึ่งที่ทรงมีพระราชดำริเช่นนี้ คือ ในฤดูร้อน สภาพอากาศในพระบรมมหาราชวังร้อนอบอ้าว อากาศไม่ถ่ายเท เพราะมีตึก และตำหนักต่างๆ บดบังอยู่รอบด้าน ประกอบกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดที่จะพระราชดำเนินโดยพระบาทในระยะทางที่พอจะเอื้อให้ทรงออกพระกำลังได้บ้าง เพราะหากประทับอยู่บนพระที่นั่งโดยมิได้เสด็จไปไหนเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้ทรงอ่อนพระกำลัง ไม่เป็นผลดีต่อพระพลานามัย จนต้องเสด็จประพาสหัวเมืองเพื่อให้ทรงสำราญพระราชอิริยาบทเนื่องๆ จึงมีพระราชดำริจะให้มีที่ประทับร้อนในพระนครที่จะเสด็จไปได้ตามพระราชประสงค์ทุกเมื่อ ในรัตนโกสินทรศก ๑๑๗ จึงโปรดให้ซื้อสวนและท้องทุ่งนา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างคลองผดุงกรุงเกษม จนถึงคลองสามเสนด้านตะวันออกจดทางรถไฟ ด้วยเงินพระคลังข้างที่ซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และโปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาท สร้าง และตกแต่งพื้นที่ในบริเวณถนนสามเสน สนองพระราชดำริดังกล่าว
ตั้งแต่ ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) เป็นต้นมา ณ พื้นที่แห่งนั้นก็ค่อยๆ ก่อร่างสร้างเป็นพลับพลาประทับแรม ถนน สะพาน คลอง สนามหญ้า สวนผลไม้ และสวนดอกไม้อย่างงดงาม ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามสถานที่นั้นว่า สวนดุสิตแต่ไม่ทรงโปรดที่จะให้ประชาชนทั่วไปขนานนามที่ประทับนี้ว่า พระราชวังเพราะที่ประทับนี้มิได้สร้างขึ้นด้วยพระราชทรัพย์สำหรับใช้จ่ายในการแผ่นดิน พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะสร้างสวนดุสิตนี้ไว้ เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับสร้างพระตำหนัก และวังพระราชทานแก่พระราชโอรส และพระราชธิดา จึงโปรดให้เรียกที่ประทับนี้ตามความเหมาะสมว่า วังสวนดุสิต
เมื่อทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้เริ่มสร้างพระตำหนัก และพระที่นั่งต่างๆ ในสวนดุสิต พระราชทานแก่พระราชโอรส และพระราชธิดาดังที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้แล้ว จึงโปรดให้รื้อ พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ที่เคยโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นที่เกาะสีชัง มาสร้างขึ้นใหม่ในสวนดุสิต พระราชทานนามพระที่นั่งนี้ว่า พระที่นั่งวิมานเมฆพร้อมกันนี้ พระองค์ยังทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ พระราชทานที่ดินทางด้านตะวันตกใกล้กับสวนสุนันทา ริมถนนใบพร (ถนนอู่ทองใน) โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระตำหนักชั่วคราวพระราชทานแก่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา ได้รับพระราชทานนามแต่แรกเริ่มว่า สวนกุหลาบ
ครั้นวันที่ ๒๖ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) จึงโปรดเกล้า ฯ ให้มีการขึ้น พระตำหนักชั่วคราวที่พระราชทานแก่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา อันพระราชทานนามไว้แต่แรกว่า พระตำหนักสวนกุหลาบการขึ้นพระตำหนักสวนกุหลาบ ทรงโปรดให้เลื่อนพระฤกษ์ให้เร็วกว่ากำหนดเดิม เพื่อจะได้ไม่ตรงกับพระฤกษ์เฉลิมพระที่นั่งวิมานเมฆ ที่จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ภายหลังการขึ้นพระตำหนักสวนกุหลาบในวันรุ่งขึ้น
เมื่อเสร็จการขึ้นพระตำหนักสวนกุหลาบ (ชั่วคราว) แล้ว ในวันที่ ๒๗ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้มีการเฉลิมพระที่นั่งวิมานเมฆตามพระฤกษ์ มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสถวายศีล และนำสวดพระพุทธมนต์ จนเวลายาม กับ ๓๐ นาที เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร ลคร ซึ่ง เลื่อนภรรยาหลวงฤทธิ์นายเวร (พุฒ)จัดมาฉลองพระเดชพระคุณในงานเฉลิมพระที่นั่งซึ่งเล่นในปรำชาลาพระที่นั่ง ครั้นเวลา ๗ ทุ่ม ๓๖ วินาที เป็นพระฤกษ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเฉลิมพระที่นั่งวิมานเมฆสรงมุรธาภิเศกในที่ แล้วเสด็จขึ้นพระแท่นเป็นพระฤกษ์ เจ้าพนักงานประโคมแตรสังข์พิณพาทย์ฆ้องชัย ในเวลาพระฤกษ์สรงมุรธาภิเศก และเสด็จขึ้นพระแท่น พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในถวายชัยมงคล
รุ่งขึ้นวันที่ ๒๘ มีนาคม มีพิธีพระราชทานฉันแก่พระสงฆ์ และพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการ ครั้นพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก แล้วเสด็จพระราชดำเนินนำพระสงฆ์ (ซึ่งเป็นชุดเดียวกันกับที่นิมนต์มาเจริญพระพุทธมนต์เมื่อวันก่อน) เที่ยวชมพระที่นั่งข้างในทั่วไป ครั้นเวลา ๒ ทุ่ม ๔๕ นาที เสด็จพระราชดำเนินประทับโต๊ะเสวย และเสด็จพระราชดำเนินไปประทับทอดพระเนตร ลครอย่างวันก่อนจนเวลา ๗ ทุ่มเศษ เสด็จขึ้น
วันที่ ๒๙ มีนาคม เวลาย่ำค่ำ ๕๕ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกประทับ ณ ท้องพระโรงพระที่นั่งวิมานเมฆ สดับพระพุทธมนต์เหมือนวันก่อน เวลา ๔ ทุ่มเศษ เสด็จพระราชดำเนินไปประทับทอดพระเนตร ลครดังวันก่อนวันนี้พระราชทานรางวัลแก่ เลื่อนภรรยาหลวงฤทธิ์นายเวร (พุฒ) ในการที่จัดลครมาเล่นฉลองพระเดชพระคุณ เวลา ๗ ทุ่มเศษ เสด็จขึ้น
วันที่ ๓๐ มีนาคม เป็นวันจรดพระกรรบิดกรรไกรแก่หม่อมราชวงศ์ อันเป็นโอรส และธิดาของพระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์ คือ ม.ร.ว.หญิงประพันธ์พงษ์ ๑ และหม่อมราชวงศ์ในพระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ คือ ม.ร.ว.โป้ย และ ม.ร.ว.โป๊ะ ๒ หม่อมราชวงศ์ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ คือ ม.ร.ว.ณัฏฐสฤษดิ์ ๑ หม่อมราชวงศ์ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิลวรรณ์ คือ ม.ร.ว.หญิงเป้า ๑ เมื่อเสร็จสิ้นพิธีแล้วทรงเจิมหม่อมราชวงศ์ทั้ง ๕ และพระราชทานเงินทำขวัญตามสมควร จนเวลายามเศษ เสด็จพระราชดำเนินไปประทับทอดพระเนตร ลิเกรพระยาเพชรปาณีซึ่งมีฉลองพระเดชพระคุณ ในการเฉลิมพระที่นั่งพอสมควรแก่เวลา และพระราชทานรางวัลแก่พระยาเพ็ชรปาณีด้วย เวลา ๒ ยามเศษ เสวยเครื่องว่างแล้วเสด็จขึ้น เป็นเสร็จการเฉลิมพระที่นั่งวิมานเมฆเท่านี้
***********************************************************************************
เรียบเรียงข้อมูลโดย ณัฐดนัย จันทร์เสมานนท์
***********************************************************************************
อ้างอิง :
- การเฉลิมพระที่นั่งวิมานเมฆ ,ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ ๑๙, วันที่ ๑๓ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๑ (พ.ศ.๒๔๔๕) ,หน้า ๒๕-๒๘
- แจ้งความเรื่องสวนดุสิต ,ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ ๑๕ , วันที่ ๗ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๗ (พ.ศ.๒๔๔๑) ,หน้า ๕๔๓


เพ้อเจ้อถึงละครพันทาง

จดหมายรักถึงคุณพันทาง


ฉันรักคุณนะค๊ะ คุณพันทาง แม้ว่าคุณจะเฉยเมยกับชั้น ไม่แยแสต่อน้ำคำของชั้น ไม่ส่งเสียงเพรียกกระตุ้นต่อมอีโรติกของชั้น แต่ชั้นก็รักในความเป็นคุณนะค๊ะ...ความหลายหลาก ความสับสน ความงุนงง ความผสมผสาน และความเป็นตัวตนของคุณทั้งหมดมันทำให้ชั้นอยากทะลวงล้วงเข้าไปในขั่วหัวใจคุณให้ได้สักที รักชั้นบ้างนะค๊ะ หันมามองชั้นบ้าง....ไม่ต้องวันนี้ก้ได้คะ (แต่อย่านานนะ) เพราะไม่ว่ายังไงชั้นก็จะยังรักคุณตลอดไป ถึงแม้ว่าชั้นจะยังไม่สามารถเข้าใจคุณได้ทั้งหมด แต่เราลงเรือลำเดียวกันแล้วนะค๊ะ เราจะขึ้นฝั่งไปพร้อม ๆ กันคะ ชั้นเชื่อว่าวันหนึ่งชั้นจะเข้าใจคุณได้มากกว่านี้ และคุณจะรักชั้นอย่างที่ชั้นรักคุณคะ คุณพันทาง"

รักเสมอและตลอดไปคะ
มุตาล

ประสบการณ์การสอน Southeast Asian Performance Class ที่อังกฤษ


ความยากในการสอนเด็กที่อังกฤษ ไม่ใช่เรื่องของความรู้ในตัวเราที่จะให้แก่เด็ก แต่เป็นเรื่องของวิธีการต่างหาก..มันเหมือนกับการขึ้นชกมวยบนสังเวียนวิชาการที่เราในฐานะครูต้องเป็นทั้งผู้ชกและเป็นกรรมการในเวลาเดียวกัน ความท้าทายเป็นสิ่งสำคัญมากต่อการสอนเด็กกลุ่มนี้ เพราะตลอดเวลาที่คุณอยู่บนสังเวียน คุณไม่มีทางรู้เลยว่าคู่ต่อสู้ของคุณจะปล่อยหมัดไหนเข้าใส่คุณ ในขณะเดียวกันตัวคุณเองก็ต้องวางเกมส์รุกและรับที่เเนบเนียน เพื่อท้าทายคู่ต่อสู้ของคุณ และพร้อมรับหมัดของเค้าเช่นเดียวกัน...

คำถามหลายต่อหลายคำถามจากเด็ก ๆ กลุ่มนี้ มันเหมือนกับหมัดฮุกซ้าย ฮุกขวา ต่อด้วยหมัดเสยปลายคาง ทำเอาชั้นในฐานะครูเกือบเซ ได้เหมือนกัน ไม่ใช่เป็นเพราะสวนหมัดกลับไปไม่ได้ หรือไม่ทัน เเต่เพราะทึ่ง..ในคำถามเหล่านั้นมากกว่า และไม่คิดว่าเด็ก ๆ ที่ไม่เคยมีพื้นฐานเรื่องที่ชั้นสอนมาเลยจะคิดและมองไปได้ลึกขนาดนั้น อย่างเช่นคำถามที่ว่า เราสอนและสร้างความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณในงานนาฏศิลป์ที่ส่งผ่านไปสู่ความเป็นอัตลักษณ์ไทยอย่างไร เราจินตนาการถึงความจริงกับสิ่งสมมุติจากการแปลงกายบนเวทีของตัวละครไทยอย่างไร อะไรเป็นตัวบอกว่านี่คือจริง นี่คือสิ่งสมมุติ รวมทั้งคำถามที่ว่า ภาพที่ไม่มีปรากฏบนเวทีแต่ปรากฏในจินตนาการความคิดของผู้ชมได้อย่างไร เป็นต้น

คำตอบหลายคำตอบพรั่งพรูออกจากปากฉันไป ไม่รู้ว่าถูกหรือผิดแต่ทุกคำตอบล้วนมีเหตุและผลที่สามารถอธิบายได้ และสามารถนำไปสู่ความน่าจะเป็นของคำตอบ ณ เวลานั้น ได้มากที่สุด บางคำตอบนั้นก็โยงใยไปถึงเรื่องของการสอน Art  Appreciation ทางด้านนาฏศิลป์ไทยกันเลยทีเดียว ฉันก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าสิ่งที่ฉันตอบจะถูกต้องไปทั้งหมด เพราะฉันไม่ใช่เจ้าทฤษฏี ความรู้ที่มีก็ยังน้อยนิดนัก แต่สิ่งหนึ่งที่ฉันยืนยันได้นั่นก็คือ ฉันได้เรียนรู้และคิดไปพร้อมกับเด็กนักเรียนเหล่านั้น พวกเขาช่วยให้ฉันเห็นและมองนาฏศิลป์ไทยในอีกมุมหนึ่ง อย่างที่ฉันยังต้องอึ้ง และทึ่งไปกับวิธีการคิด การมองและการถามในแบบของพวกเขา


การอธิบายงานนาฏศิลป์ไทยในเชิงที่เป็น Theatrical Theory ยังคงขาดแคลนและน้อยนิดเหลือเกินในมุมมองฉัน หลังจากที่ได้เผชิญกับคำถามเหล่านั้น เราในฐานะคนนาฏศิลป์มองเห็น เรียนรู้ งานนาฏศิลป์จากการจำ จด มาโดยปราศจากคำอธิบายมานานแค่ไหน มีงานเขียนที่เป็นการอธิบายในเชิง Theatrical Theory ของงานนาฏศิลป์ไทยที่ดีมีคุณภาพไม่มากนัก หนึ่งในนั้นก็คือ ตำนานละครอิเหนา ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ถึงแม้ว่าจะเป็นการพรรณาความและบันทึกความทรงจำที่เป็นประวัติศาสตร์ค่อนข้างมาก หากแต่แอบแฝงไว้ซึ่งแนวคิดในเชิงทฤษฎีทางด้านนาฏศิลป์ตั้งแต่สมัยอดีตไว้เช่นกัน หรือแม้กระทั่งงานของ ศ.ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ หนังสือหลาย ๆ เล่มของท่านเติมเต็มในส่วนของทฤษฏีความรู้ทางด้านนาฏศิลป์ไทยและขยายมุมมองใหม่ ๆ ให้กับนักวิชาการนาฏศิลป์และดนตรีไทยเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะมีบางส่วนที่ข้อมูลผิดพลาด คลาดเคลื่อน ไปบ้างก็ตาม

ชั้นไม่ใช่คนบ้าเห่อหรือคลั่งฝรั่งอย่างไร้เหตุผล..ดังนั้นนี่จึงไม่ใช่การชื่นชมระบบการเรียนการสอนของฝรั่ง หรือชื่นชมความเก่งกาจ ความฉลาดล้ำเลิศ และความกล้าหาญของเด็กเหล่านี้อย่างงมงายไร้สติ หากแต่สิ่งที่มันทำให้ชั้นต้องย้อนกลับมาคิด ทบทวนต่อ แล้วตั้งคำถาม คือ เกิดอะไรขึ้นกับเด็กไทย ทำไมเราไม่ค่อยมีโอกาสเห็นภาพของการโต้เถียงกันอย่างถึงพริกถึงขิง ด้วยหลักการเหตุผล ข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ความรู้ ของเด็กไทยอย่างที่ควรจะเป็น การสร้างองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการวิพากษ์มากกว่าการสั่งสอนแบบท่องจำในตำรามันอยู่ตรงไหนของระบบการเรียนการสอนไทย หรือร่ำเรียนด้วยการจดและจำมันล้าหลังเกินไปหรือกระตุ้นพลังการเรียนรู้และการต่อยอดทางความคิดของเด็กไทยได้ดีพอหรือยัง...

มันถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่คนนาฏศิลป์ไทยแท้ ๆ จะต้องลุกขึ้นมาปฏิวัติอะไรบางอย่างทั้งกับตนเองและวงการของตน นั่นเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับชั้นอีกครั้งเมื่อชั้นเขียนมาถึงตรงนี้.... การเชื่อครู เดินตามแบบผู้อาวุโส โดยขาดการไตร่ตรองหาเหตุและผล การเลือกทางประนีประนอม แล้วหลบอยู่ในมุมมืดที่ดูเหมือนว่าน่าจะปลอดภัยของผู้ที่คิดต่าง มากกว่าการก้าวออกมาแสดงความเห็นที่แตกต่างและวิพากษ์สิ่งที่ไม่น่าจะถูกต้อง ไม่จริง หรือไม่ควรจะเป็นในวงการ ยังจะเป็นทางออกสำหรับการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามทางด้านนาฏศิลป์ไทยอย่างนั้นหรือ...การต่อยอดทางความคิด การคิดต่าง และการยอมรับในความต่างที่ไม่แตกแยก มันจะเป็นไปได้ไหมบนเส้นทางนี้..การทำลายกำแพงของความอาวุสโส ไปสู่ความเท่าเทียมกันทางความคิดและปัญญา น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่าหรือไม่สำหรับนาฏศิลป์กับสังคมไทยในปัจจุบัน...

ชั้นได้เขียน Post นี้ในแบบย่อ ไว้บน หน้า Wall Facebook  ของฉัน....มีเพื่อนมากมายเข้ามากดไลท์ บางคนก็ให้ Comments มี Comment หนึ่งที่น่าสนใจจากพี่ปัท..ครูใหญ่แผนกไทย ของบางกอกพัฒนา เธอเขียนไว้ว่า...
น่ายินดีที่แม้พื้นภูมิความรู้เกี่ยวกับนาฎศิลป์ไทยของเด็กต่างชาติจะจำกัด แต่เด็กมีกระบวนการคิดที่ดีและถูกฝึกให้สังเกตและตั้งคำถาม ไม่ใช่แค่ฟังรอรับข้อมูล พี่ไม่มั่นใจว่าเด็กไทยของเราเองจะมองเห็นประเด็นที่เด็กฝรั่งคิดที่ตาลยกตัวอย่างมา เราอาจไม่ฝึกให้เด็กเกิดความสงสัยมากพอ เลยไม่ถาม มันเป็นคุณลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องให้เด็กได้ reflect กับสิ่งที่เรียน ตั้งคำถามและเชื่อมโยงความคิด ความรู้เข้ากับประสบการณ์ของตน ซึ่งจะทำให้เค้านำความรู้ไปสังเคราะห์ต่อยอดได้
ฉันเห็นด้วยกับความคิดเห็นของพี่ปัท โดยเฉพาะในส่วนที่กล่าวว่า เราอาจไม่ฝึกให้เด็กเกิความสงสัยมากพอ เลยไม่ถาม เมื่อไม่ถามก็สะท้อนความคิดไม่ได้ ต่อยอดความรู้ไม่ได้...หากมองในมุมนี้จะเห็นว่า ครูเป็นต้นเหตุสำคัญและเป็นเหมือนปราการด่านแรกที่จะช่วยให้เด็กแสดงความเป็นตัวตน และต่อยอดความคิดได้ ดังนั้น ไม่แน่ว่าหน้าที่ของครูในด้านนาฏศิลป์ไทยในวันนี้ จึงไม่ควรจบหรือหยุดอยู่แค่การสอน เพื่อให้เด็กจำตาม อย่างไร้สติ อีกต่อไปแล้ว หากแต่ต้องกระตุ้นสติและปัญญา ให้คิด ให้ถาม ชี้นำทางเด็กไปสู่การขยายองค์ความรู้ที่กว้างขึ้นด้วยตนเอง โดยมีครูคอยส่งเสริม สนับสนุนอย่างห่าง ๆ  ในขณะเดียวกันครูก็ต้องเรียนรู้ เปิดใจที่จะยอมรับความใหม่ที่แตกต่างโดยไม่มีตำแหน่ง และอายุมาเป็นเครื่องกีดขวางความคิดเช่นกัน

มันก็เหมือนกับเกมมวยที่ชั้นเปรียบไว้ตั้งแต่ต้นบทความ เกมมวยนี้ผลมันไม่ได้อยู่ที่เเพ้ชนะ ผลมันอยู่ที่ชั้นและนักเรียนของชั้นต่างถูกกระตุ้นให้คิด วิเคราะห์ วิพากษ์ สังเคราะห์และมองในมุมที่ต่างออกไปจากความรู้ที่ชั้นป้อนให้เค้า หรือจากบทความ และการฝึกปฏิบัติที่ชั้นมอบหมายให้เค้าอ่านและทำ รวมทั้งการอภิปรายและแสดงความคิดเห็นอย่างดุเด็ดเผ็ดร้อน ด้วยเหตุและผล ด้วยความน่าจะเป็น และปราศจากอคติ มันเหมือนเป็นเกมมวยที่ทั้งคู่ต่างเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน มากกว่าการพยายามที่จะหาผลสรุปว่าใครชนะ หรือใครแพ้..

วันอังคารที่จะถึงนี้...น่าจะเป็นคลาสที่เมามันอีกวันหนึ่งของชั้น เพราะฉันจะต้องทำหน้าที่เป็นกรรมการวิพากษ์ วิจารณ์เด็ก ๆ เหล่านั้น จากงานที่เค้าไปทำมา เป็น Experimental dance piece จากพื้นฐานท่ารำไทย ....มาคอยดูกันว่ามันจะมันส์หยดติ๋งขนาดไหน....

ป.ล. กราบคุณครูเทพและครูมนุษย์ และผู้ให้โอกาสทุกองค์ทุกท่านทุกคน  ที่ดลบันดาล นำพาให้ฉันได้เดินมาบนทางสายนี้  ให้ฉันได้รู้สึกถึงความงดงามของการฟ้อนรำที่มันลึกเกินกว่าแค่การสัมผัสจากผัสสะของชั้น ให้ฉันได้เล่าสู่ ส่งต่อ ในสิ่งที่ฉันเป็น ฉันคิด ฉันเรียนรู้ จากความงดงามเหล่านั้น ไปสู่คนอื่น ๆ แม้อาจจะไม่มากที่สุดแต่ก็มากเท่าที่กำลังและความสามารถของฉันจะทำได้...กราบขอบพระคุณจริง ๆ คะ

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

Khomsorn Thanathammetee

I am really sad to hear that Arjarn Khomsorn Thanathammetee or Kru Hall has passed away in this morning with the infection of lung. Kru Hall was a brilliant Thai dance teacher and perfromer of Performing Arts Department, Faculty of Fine and Applied Arts, Rajabahat Suansunandha University Bangkok, Thailand. He was my friend and collegue, who can share a intellectual advices with me. We had many great times to discuss about Thai dance and also perform traditional Thai dance together. His visions and works inspired me most about the development of Thai dance disciplines and also reminded me about What a good teacher should be. Last week,we had discussed and I did interview him about an upcoming dance project namely "an experimental Lakhon Phanthang", which will be held in the end of Febuary.

As a way of remembering him,I attached his photo and