วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วรรณคดีอิเหนา: มรดกไทย มรดกร่วมในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



วันนี้ (21 กุมภาพันธ์ 2556 (2013)) ชั้นมีโอกาสเข้าร่วมฟังสัมนาเรื่อง "วรรณคดีอิเหนา: มรดกไทย มรดกร่วมในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" จัดโดย SPAFA ณ ห้องประชุมใหญ่ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพ การสัมมนาในคร้ังนี้ เป็นการจัดสัมมนาที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของดินแดนทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยผ่านเเว่นขยายของ วรรณคดีเรื่องอิเหนา ซึ่งนับว่าเป็นวรรณคดีร่วม ของกลุ่มคนในเเถบเอเชียอาคเนย์ เช่น ไทย พม่า ลาว เขมร ชวา และมลายู

กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการสัมมนาเต็มวัน เริ่มตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น. ซึ่งนับว่าเป็นการสัมมนาเต็มวันที่เข้มข้นในเรื่องเนื้อหาและเวลาเป็นอย่างยิ่ง รูปแบบการสัมมนาในครั้งนี้ คือมีวิทยาการมาบรรยายในประเด็นที่เกี่ยวกับอิเหนาของประเทศต่าง ๆ ในแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งชั้นจะเขียนสรุปไว้ในบล๊อกต่อ ๆ ไป สำหรับบล๊อกนี้จะเขียนเล่าถึงการบริหารจัดการงานสัมมนาของหน่วยงานที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหน่วยงานระดับชาติอย่าง SPAFA

ถึงแม้ว่าหน่วยงานที่จัดกิจกรรมนี้จะได้รับงบประมาณสนับสนุนการจัดงานจากรัฐบาล ทำให้สามารถจัดงานนี้ขึ้นโดยผู้ที่เข้าร่วมฟังสัมมนาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งยังมีอาหารว่างและอาหารกลางวันให้บริการแก่ผู้ที่มาเข้าร่วมสัมมนาด้วย อย่างไรก็ตามในการบริหารงานด้านอื่น ๆ แลดูจะยังขาดความเป็นมืออาชีพอยู่มาก

1. เรื่องของการลงทะบียนและแจกเอกสารสำหรับผู้ที่มาเข้าร่วมสัมมนา -- การประสานงานและประชาสัมพันธ์ที่อ่อนด้อย และเอกสารที่แจกไม่เพียงพอต่อผู้ที่มาเข้าร่วม

2. ความเป็นมืออาชีพของผู้ดำเนินรายการมีน้อย -- ผู้ดำเนินรายการควรเป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่องหรือสิ่งที่จะพูด อีกทั้งต้องมีปฏิภาณไหวพริบที่ดีในการชักจูงผู้ฟังให้อยู่กับงานสัมมนาและทราบในลำดับงานต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งจะต้องสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น มีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้นขณะวิทยากรกำลังบรรยาย ถึงเกือบ 5 ครั้ง แต่ ผู้ดำเนินรายการขาดความสามารถในการพูดให้ผู้เข้าร่วมปิดเครื่องมือสื่อสาร อีกทั้งภาษที่ใช้ก็ไม่ทางการและไม่ต่อเนื่อง หรือแม้กระทั่งการอธิบายประวัติวิทยากร ผู้ดำเนินรายการควรทำการบ้านมาก่อนที่จะพูด มิใช่แค่การมานั่งอ่านแบบผิด ๆ ถูก ในงานจริง

3. การจัดที่นั่งวิทยากรบนเวที และความต่อเนื่องของการนำเสนอจากวิทยากรท่านหนึ่งสู่อีกท่านหนึ่ง -- เป็นการเสียเวลาเป็นอย่างมากในการเชิญวิทยากรแต่ละท่านขึ้นพูดทีละครั้ง และเริ่มเตรียมระบบคอมพ์ทีคะครั้ง แทนที่จะจัดให้วิทยาการทุกท่านที่จะพูดในช่วงเวลาเดียวกัน ขึ้นนั่งบนเวทีพร้อมกันและให้มีการเตรียมระบบการนำเสนอของแต่ละท่านลงบนคอมพ์ ไว้ล่วงหน้า

4. ขาดผู้ที่ทำหน้าที่เป็น Moderator ดำเนินรายการสรุป การพูดของท่านวิทยากรแต่ละท่าน ซึ่งอันที่จริงอาจจะเป็นหน้าที่ของผู้ดำเนินรายการ แต่เนื่องด้วยผู้ดำเนินรายการอาจมีความสามารถจำกัด หรืออาจจะไม่รู้ว่าตนต้องเป็น Moderator คอยสรุปเพื่อเชื่อมโยงประเด็นของวิทยากรกับผู้ฟังอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ไม่สามารถที่จะพูดได้และบกพร่องในจุดนี้ไป

อย่างไรก็ตามแม้ข้อบกพร่องจะมีแต่ข้อดีก็ทีเช่นกัน อย่างที่บอก เป็นประเด็นที่น่าสนใจที่ SPAFA ได้หยิบยกอิเหนา ขึ้นมาถกเถียง อภิปราย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนับเป็นการเสนอมิติใหม่ทางการศึกษาด้านวัฒนธรรมและชาติพันธุ์วรรณาผ่านงานวรรณคดีเรื่อง อิเหนา ที่มักจะถูก (คนไทย) เข้าใจว่า เป็นเพียงวรรณคดีสำหรับแสดงละครในราชสำนักของไทย ในขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดประตูให้กับนักวิชาการและผู้สนใจในด้านอื่น ๆ หันกลับมามองงานวรรณคดีด้วยบริบทใหม่ ที่ไม่ได้ถูกจำกัดแค่เนื้อหาหรือภาพมายาทางภาษาศาสตร์ แต่เหมือนเป็นการคลี่ภาพของประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ รวมถึงเรื่องการเมือง ผ่านวรรณคดีเรื่องนี้และกระตุ้นให้เกิดการวิพากษ์ข้อเท็จจริงที่เคยมี ที่ถูกสร้างหรือที่ถูกเชื่อ ให้นักวิชาการต้องขบคิดกันต่อว่าสิ่งที่รู้ เห็นเข้าใจ และเชื่อ จากวรรณคดี เรื่องนี้มันจริงเท็จและถูกต้องหรือยัง