วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

The conqueror of ten directions


I found this article on the other blog

(http://hlaoo1980.blogspot.com/2012/12/thais-love-affairs-with-burmese-king.html) 

However, the blogger was  directed quote from other website as well.

Thais’ Love Affairs with Burmese King Bayinnaung?



King Bayinnaung (1516-1581).
Of special interest to Thais as the conqueror of Ayutthaya Kingdom in 1569, the facts about King Bayinnaung are however surrounded by myth and folk tales. Thai historians gathered recently to hear Burmese scholar U Thaw Kaung deliver a paper on the life of the man considered to be Burma's most influential ruler. Subhatra Bhumiprabhas reports.

Authors may go to great lengths to avoid overt bias but historiography is always subjective. The victors and the vanquished write widely differing accounts of the same war, downplaying or omitting to mention failures, exaggerating or inventing successes.

So commonplace a phenomenon that scepticism has long been a necessary companion on any journey into the past. Much less common is the sight of former traditional enemies meeting, centuries after the event, to try and separate fact from falsehood, truth from folk tale.

The war in question ended in 1569 with the conquest of Ayutthaya by the armies of Bayinnaung, king of Toungoo, Pegu (aka Hongsawaddy) and Ava. The Siamese kingdom was to remain under Burmese suzerainty for the next 21 years; its titular ruler, Maha Thammaracha, subordinate to the regional superpower to the west.

Descendants of the two "warring sides" were rather unevenly matched at a one-day symposium held at Thammasat University earlier this month. In fact, U Thaw Kaung, former head of Rangoon's Universities Central Library, was the only Burmese representative present. Thai historians turned out in force, though. They had come to hear Thaw Kaung deliver a paper on the life of King Bayinnaung and to share Thai perspectives on the monarch many Burmese regard as the most illustrious leader in their long history.

Quite apart from the humiliating defeat he inflicted on Ayutthaya in 1569, generations of Thai schoolchildren know Bayinnaung as the Burman monarch who, five years before that date, took Maha Thammaracha's son, Prince Naresuan (later King Naresuan the Great), back to Burma as a hostage for his father's good behaviour. More recently, Thais have been made aware of the fact that Naresuan was allowed to return home in 1572 only after his sister, Princess Supankalaya, had been presented as a bride to Bayinnaung. 

On this last point, Dr Sunait Chutintaranond, a respected Thai historian and director of the Thai Studies Centre at Chulalongkorn, notes: "According to Burmese chronicles, Bayinnaung has three senior queens and 42 lesser queens who each had a child with him. The chief queen was King Tabinshwehti's sister. The second queen ... her name was Canda Devi ... accompanied him when he led the attack on Ayutthaya [in 1569].

Among his 42 lesser queens, one was mentioned in a more recent Burmese chronicle [Mahayazawinthit; written in the late 18th century]. It said that she was the elder sister of the king of Ayutthaya and that her name was Amyo Yonge. She bore King Bayinnaung one daughter."

Older Thais may remember Bayinnaung as the hero of Phu Chana Sibtit (Conqueror of the Ten Directions), a historical novel by "Yakhob" (pen name for Chot Phrae-phan) which was first published here in 1938.

In the book "Chadet" (Bayinnaung) is portrayed as a fearless, gentlemanly and very handsome warlord. The novel romanticises his marriage to "Chantra", elder sister of King Tabinshwehti (his predecessor; founder of the Toungoo dynasty), and notes that it was this monarch who gave him the name by which he is best known today (Bayinnaung means "the king's elder brother").

Interestingly, in Burma too, myths and folk legends about the man have become intertwined with information corroborated by various sources. For the past year Thaw Kaung and a colleague in Rangoon have been translating Hanthawady Hsinbyu-myashin Ayedawbon, an ancient history of Burma which covers events up to about two years before Bayinnaung's death in 1581. "We don't know much about his genealogy because it wasn't mentioned in the main chronicles," said Thaw Kaung.

Then there are the inscriptions in Pali, Mon and Burman on a huge bronze bell at Shwezigon Pagoda in Pagan. They cover events in the first few years of his reign (January 11, 1551 to May 23, 1557) but say nothing about his ancestry.

However, according to a popular legend in Burma, he was the son of a lowly "toddy-climber" (a labourer hired to harvest the fruit of the toddy palm). About 150 years after his death, a man named U Kala wrote the first comprehensive chronicle of Burmese kings (Maha Yazawin-gyi) in which he implies that Bayinnaung was descended from Toungoo royalty.

"But then," noted Thaw Kaung, "U Kala could not have written, even if he had wanted to, that Bayinnaung was not of royal blood. He was living in the reign of a direct descendant of this great king and he wouldn't have dared cast doubts on the [purity of the] royal lineage."

Other texts Thaw Kaung has come across claim variously that Bayinnaung's parents were commoners from Nga-tha-yauk in the Pagan area, or from Hti-hlaing, a village in Toungoo district. "I've come to realise that many Burmese writers have mixed fact and fiction," he said, going on to remark that "Yakhob" may have done the same in his novel Phu Chana Sibtit.

He also mentioned another, questionable, source: A book, published in 1906, entitled Athtoke-patti htu (Distinguished Lives). Its author claims that before Bayinnaung succeeded Tabinshwehti as ruler of Toungoo, he fell in love with Hne Ain Taing, a beautiful young widow of Mon ancestry who had one son from her previous marriage. She was apparently bearing Bayinnaung's child when he was called back to the capital on urgent business.

After his coronation, she is said to have turned up at his palace accompanied by two young boys but the king pretended not to know her. "This little book clearly belongs to the oral traditional of the century before," Thaw Kaung said. "However many popular writers [in Burma] got their material on Bayinnaung's childhood and youth from this book."

This inability to conclusively prove Bayinnaung's parentage was put to good use during Burma's struggle to gain independence from Britain in the 1920s. In an attempt to stir up nationalism and patriotism among his compatriots, U Po Kya, a well-known author of history textbooks, claimed that Bayinnaung had risen from among the "common people"; that he had been born to a peasant family in the Pagan area. The book was distributed in primary schools around the country.

"Perhaps," ventured Thaw Kaung, "he wanted the young Burmese students of the 1920s and '30s to get the idea that anyone could achieve eminence and become a great leader and conqueror if he was brave, hard-working, willing to take risks and to strive earnestly for the good of the country and the people."

And vestiges of this manufactured image of King Bayinnaung seem to have endured to the present day. In 1990, work began on reconstructing Bayinnaung's palace (Kamboza Thadi) in Pegu. A statue of the revered monarch was erected in Tachileik district five years later. Today the palace and statue are popular tourist attractions.

"The statue represents the grand image of King Bayinnaung," said Dr Sunait. He is portrayed not as a scary soldier but as a dignified statesman admired by his people. His disposition blends elements of both soldier and politician. This is another interpretation and characterisation of King Bayinnaung from the point of view of the Burmese," said Dr Sunait.

"I'd say that the image of Bayinnaung is very universal. He's the king of kings. He's an important part of Burma's historical heritage but he also symbolises the power of nations in the Southeast Asian region because of his international reputation as a strong warrior king."

Burmese Librarian U Thaw Kaung.
According to Thaw Kaung, Bayinnaung ensured himself a permanent place in Burmese history books by firmly establishing the Toungoo dynasty and by uniting what had been a collection of fractious little kingdoms and city-states into a dominant power in the region. "He will also be remembered as the king who extended the frontiers of our country to their farthest extent ... to parts of [what are now] northern Thailand and Laos."

U Thaw Kaung presented his paper at a symposium held on March 1 at Thammasat's Faculty of Liberal Arts. The event, organised by the Southeast Asia Studies Project, was entitled "Bayinnaung, Conqueror of the Ten Directions, from the Burmese Perspective". Dr Sunait Chutintaranon is soon to launch the third edition of his Thai-language biography of Bayinnaung.

( Bayinnaung was the only Burmese king Thais looked up to as a hero. Indeed he's the only Burmese ruler who won Thai hearts. His victories, military prowess, and heroism are well recognised by Thais and even captured in a bestselling Thai novel called "Phoo Chana Sip Thid" "The Victor of Ten Directions".  

When I first came to Thailand in 1984-85 almost every Thai I ran into asked me of King Bu-yin-naung once they knew I am a Burmese or Pha-ma as Thais call us Burmese. And I was pleasantly amazed that Thais know very well our famous king Ba-yin-naung.

Following videos from Youtube are various variations of the famous classical Thai song“Phu Chana Sip Htit - Conqueror of the Ten Directions” about our beloved King Bayinnaung derived from that 1938 Thai novel bearing the same name.)

                                        (Phu Chana Sip Htit - Conqueror of the Ten Directions.) 

                                       (Phu Chana Sip Htit - Conqueror of the Ten Directions.)

                                       (Phu Chana Sip Htit - Conqueror of the Ten Directions.)

                                        (Phu Chana Sip Htit - Conqueror of the Ten Directions.)

Culture Industry


 ค้นเจอมาจากhttp://www.menzzz.com/node/32 น่าสนใจและ เป็นประโยชน์ จึงคัดเอามาแปะไว้อ่าน....


subject

 

ความขัดแย้งของความต่างทางวัฒนธรรม

( The conflict of different culture )
ในสมัยโบราณ นักปราชญ์ได้ให้ความหมายของศิลปะ (Art) ไว้ว่า ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้น ต้นไม้ ภูเขา ทะเล น้ำตก ความงดงามต่างๆ ตามธรรมชาติจึงไม่เป็นศิลปะ  ดอกไม้ที่เห็นว่าสวยสดงดงาม ก็ไม่ได้เป็นศิลปะเลย ถ้าหากเรายึดถือตามความหมายนี้แล้ว สิ่งที่มนุษย์สร้างสร้างขึ้นทั้งหลาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น ภาพวาด ภาพพิมพ์ งานปั้น งานแกะสลัก เสื้อผ้าอาภรณ์    เครื่องประดับ ที่อยู่อาศัย ยานพาหนะ เครื่องใช้สอย ตลอดจนถึงอาวุธที่ใช้รบราฆ่าฟันกัน ก็ล้วนแต่เป็นศิลปะทั้งสิ้นไม่ว่ามนุษย์สร้างสิ่งที่ดีงามเลิศหรูอลังการ หรือน่าเกลียดน่าชังอย่างไรก็ตาม ล้วนแต่เป็นงานศิลปะ
ในสมัยต่อมามีผู้ให้ความหมายของศิลปะว่าศิลปะเป็นผลงานการสร้างสรรค์ซึ่งในความหมายนี้เราต้องตีความหมายของคำว่า การสร้างสรรค์การสร้างสรรค์หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Creative” คือ การทำให้เกิดบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา ซึ่งบางสิ่งบางอย่างนั้นไม่เคยมีอยู่มาก่อน ทั้งที่เป็นผลิตผล หรือกระบวนการ หรือความคิด ดังนั้น สิ่งที่จะเป็นงานสร้างสรรค์ได้จะต้องเป็นประดิษฐ์กรรมใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลก หรือเป็นกระบวนการใหม่ ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อกระทำการบางสิ่งบางอย่างให้ประสบผลสำเร็จ หรือเป็นการสร้างแนวคิดใหม่ ที่จะนำไปสู่วิธีการใหม่ ๆ แนวคิดใหม่ ๆ นี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์เพราะแนวคิดใหม่จะนำไปสู่การพัฒนากระบวนการหรือวิธีการใหม่ ๆ ที่จะนำไปสู่ผลผลิตหรือประดิษฐ์กรรมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นมาในโลกและตอบสนองความต้องการในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ได้ เพื่อแทนที่ผลผลิตหรือประดิษฐ์กรรมเดิมที่ตอบสนองได้ไม่พอเพียง หรือไม่เป็นที่พอใจ การสร้างสรรค์ในอีกความหมายหนึ่งจึงเกิดขึ้น คือ เป็นการทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมีหลาย ๆ วิธี โดยอาจเป็นการปรับปรุงกระบวนการใหม่ให้ได้ผลผลิตมากกว่าเดิม หรือเป็นการปรับปรุงรูปแบบผลผลิตใหม่ โดยใช้วิธีการเดิมแต่ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ๆ ก็ตามเป็นการกระทำให้เกิดขึ้นจากการใช้แนวคิดแบบใหม่ ๆ ทั้งสิ้น และเป็นผลของวิธีการคิดที่เรียกว่า ความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่อยู่ในมนุษย์ทุกคน และสามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้โดยอาศัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวย  ความคิดสร้างสรรค์เป็นความคิดที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะอย่างแยกกันไม่ออกหรืออาจกล่าวได้ว่า ศิลปะเป็นผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าศิลปะเป็นผลจากความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้น สิ่งใดก็ตามที่มีความคิดสร้างสรรค์ก็สามารถสร้างงานศิลปะได้ จากตอนต้นที่กล่าวว่าศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น แสดงว่า มนุษย์เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถสร้างงานศิลปะได้ แต่นอกเหนือจากมนุษย์แล้วจะยังมีสิ่งอื่น ๆ อีกหรือไม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ จากประวัติศาสตร์ของมนุษย์ และการศึกษา ค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เราจะพบว่าสัตว์โลกหลาย ๆ ชนิดมีความคิดรู้จักความรักและมีสัญชาตญาณ แต่สิ่งเหล่านั้นจะจัดเป็นความคิดสร้างสรรค์หรือไม่  สัตว์ทั้งหลายสามารถสร้างหรือกระทำสิ่งใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการได้ดีกว่าเดิมหรือไม่  รู้จักพัฒนาแนวคิด กระบวนการและผลผลิตให้ดีกว่าเดิมหรือไม่
หากเราจะเปรียบเทียบย้อนหลังไปเมื่อหลายหมื่นแสนปีก่อนหน้านี้ เมื่อมนุษย์ยังอยู่ในถ้ำ ยังไม่สวมเสื้อผ้า เก็บผลไม้กินหรือไล่จับสัตว์กินเป็นอาหาร ซึ่งมีชีวิตไม่ต่างจากสัตว์ทั้งหลาย ในทุกวันนี้มนุษย์มีบ้านอยู่สบายมีเครื่องแต่งกายสวยงาม มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย สามารถไปได้ทั้งบนบก ในน้ำ ในอากาศและอวกาศ มีเมือง มีระบบสังคม  มีระเบียบปฏิบัติร่วมกัน มีกระบวนการพัฒนามนุษย์ที่จะสืบทอดดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป มีจริยศาสตร์  มีศาสนาและพิธีกรรม มีรูปแบบการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันอย่างหลาหลายกระจายไปทั่วโลก ขณะที่สัตว์โลกอื่น ๆ   ยังคงดำรงชีวิตอยู่เดิม ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ข้อแตกต่างนี้บางทีอาจเป็นสิ่งพิสูจน์ได้ว่ามนุษย์เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์เพียงหนึ่งเดียวบนโลกนี้ ดังนั้น ศิลปะจึงเป็นเรื่องของมนุษย์สร้างขึ้น โดยมนุษย์และเพื่อมนุษย์เท่านั้นอาจสรุปได้ว่า ศิลปะเป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ซึ่งในความหมายเช่นนี้แสดงว่าสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์คิดค้นกระทำขึ้นมาทั้งที่เป็นการกระทำใหม่ ๆ หรือเป็นการกระทำสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นกว่าเดิมล้วนแต่เป็นงานศิลปะทั้งสิ้น แนวคิดใหม่ ๆ วิธีการใหม่ ๆ ประดิษฐ์กรรมใหม่ ๆ ความเชื่อใหม่ ๆ ศาสนาใหม่ ๆ ตลอดจนถึงการดำรงชีวิตแบบใหม่ อาวุธใหม่ ๆ การสร้างความหายนะให้กับผู้อื่นด้วยวิธีการใหม่ ๆ ก็เป็น ศิลปะอย่างนั้นหรือ การทำลายล้างด้วยอาวุธใหม่ ๆ รวดเร็วรุนแรง สร้างความเสียหายใหญ่หลวง จะถูกยกย่องว่าเป็นผลงานศิลปะชั้นเยี่ยมหรือไม่
เมื่อเราพูดถึง ศิลปะ เรามักจะหมายถึง ความงาม แต่ความงามในที่นี้เป็นเรื่องของคุณค่า (Value) ที่เป็นคุณค่าทางสุนทรียะ แตกต่างจากคุณค่าทางเศรษฐกิจ ที่เป็นราคาของวัตถุ แต่เป็นคุณค่าต่อจิตใจ ความงามเกิดขึ้นด้วยอารมณ์มิใช่ด้วยเหตุผลความคิดหรือข้อเท็จจริง คนที่เคร่งครัดต่อเหตุผลหรือเพ่งเล็งไปที่คุณค่าทางวัตถุจะไม่เห็นความงาม คนที่มีอารมณ์ละเอียดอ่อนไหวจะสัมผัสความงามได้ง่ายและรับได้มาก ความงามให้ความยินดี ให้ความพอใจได้ทันทีโดยไม่ต้องมีเหตุผล ความยินดีนั้นเกิดขึ้นเองโดยไม่มีการบังคับ ความงามนั้นเกี่ยวข้องกับวัตถุก็จริงแต่มิได้เริ่มที่วัตถุ มันเริ่มที่อารมณ์ของคน ดังนั้น ความงามจึงเป็นอารมณ์ เป็นสุขารมณ์หรือเป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความสุข เป็น 1 ใน 3 สิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขกับมนุษย์ซึ่งได้แก่ ความดี ความงาม และความจริง ผู้ที่ยอมรับและเห็นในคุณค่าของทั้งสามสิ่งนี้จะเป็นผู้มีความสุข เนื่องจากความงามเป็นอารมณ์ เป็นสิ่งที่อยู่ในความรู้สึกนึกคิด ความงามจึงเป็นนามธรรม ดังนั้น การสร้างสรรค์งานศิลปะ ก็เป็นการถ่ายทอดความงามผ่านสื่อวัสดุต่าง ๆ ออกมา เพื่อให้ผู้อื่นได้สัมผัสได้พบเห็นได้รับรู้สื่อต่าง ๆ จะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ทางความงามที่แตกต่างกันตามค่านิยมของแต่ละบุคคล ความงามไม่ใช่ศิลปะเนื่องจากว่าความงามไม่จำเป็นต้องเกิดจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ธรรมชาติก็มีความงามเช่นกัน เช่น บรรยากาศขณะที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือตกดิน ความสวยงามสดชื่นของดอกไม้  ทิวทัศน์ธรรมชาติต่าง ๆ เป็นต้น งานศิลปะที่ดีจะให้ความพึงพอใจในความงามแก่ผู้ชมในขั้นแรก และจะให้ความสะเทือนใจที่คลี่คลายกว้างขวางยิ่งขึ้นด้วยอารมณ์ทางสุนทรียะของผลงานศิลปะนั้นในขั้นต่อไป 

ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความงามและความพึงพอใจที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์สืบเนื่องกันมาตั้งแต่อดีตอันยาวนานจนถึงศิลปะร่วมสมัย
เราจะนิยามคำว่า ร่วมสมัยอย่างไร และจะขีดเส้นแบ่งชัดได้อย่างไร ในเมื่อวันนี้ย่อม ร่วมสมัยกว่าเมื่อวาน และหากเรามองรูปแบบของศิลปะในยุคที่โลกทั้งโลกเชื่อมโยงกันทั่วถึงแล้ว เราไม่อาจแบ่งแยกได้เลยว่า ร่วมสมัยของซีกโลกหนึ่ง และ ร่วมสมัยของอีกซีกโลกหนึ่งต่างกันตรงไหน หากให้มองย้อนกลับไปในทามน์ไลน์ที่ไม่ไกลจากปัจจุบันนัก ช่วงยุค 60-70 ศิลปะกลายเป็น “living art” ก่อเกิดศิลปะแนวใหม่มากมากมาย ช่วงยุค 70 เทคโนโลยีกล้องถ่ายรูปพัฒนาขึ้น ศิลปะหยิบยืมวัฒนธรรมใหม่นี้มาใช้ วิธีคิดเรื่องงานศิลปะที่ต้องทำด้วยมือถูกแทนที่ด้วยวัฒนธรรมเลนส์ ช่วงยุค 80 ศิลปินเริ่มตั้งคำถามต่อวัสดุที่ใช้งานศิลปะ อิทธิพลดังกล่าวเกิดมาจากการพัฒนาของอุตสาหกรรม ส่งผลให้ศิลปินส่วนหนึ่งนำวัสดุสำเร็จรูปมาใช้ทำงานศิลปะแทนที่จะจำกัดตนกับวัสดุเดิมๆ กระบวนทัศน์ของการบ้าวัสดุนี้ท้ายที่สุดก็ส่งผลในด้านกลับทำให้เกิดวิธีคิดของอีกกลุ่มที่พัฒนาเพื่อหักล้างกันนั้นก็คือ กลุ่ม “Anti Material” ช่วงยุค 90 เป็นยุคดิจิตอล ศิลปะใช้พื้นที่สื่อชนิดใหม่นี้เกิด Hybrid หรือพันธุ์ทางขึ้นในโลกศิลปะ แนวคิดของ “Post modern” เป็นรูปธรรมที่เด่นชัดขึ้น ปี 2000 เป็นต้นมาศิลปะกับระบบเศรษฐกิจไม่แยกออกจากกัน แนวคิดเรื่องความเลวร้ายของ “Capitalism” กลายเป็น “Paradox”
จากทามไลน์แสดงให้เห็นว่า แม้จะอยู่ในศิลปะร่วมสมัยตามความเข้าใจแบบสากล กระบวนทัศน์ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและเป็นสำนึกร่วมกันของสังคม ไม่ใช่สำนึกของใครคนใดคนหนึ่ง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงจากตัวอย่างก็เป็นแค่โครงร่างคร่าว ๆ หยาบ ๆ ไม่ได้ฉายภาพรอบด้านของความร่วมสมัยอย่างแท้จริง การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบเส้นตรง ไม่ใช่การล้มของ “ism” หนึ่งแล้วพัฒนาเป็นอีก “ism” หนึ่ง อย่างที่เข้าใจกันในหนังสือศิลปะ แต่ “ism” หนึ่งซ้อนทับกับ “ism” หนึ่งเสมอ ทั้งแง่ของเวลาและแง่ของรูปแบบมีการหยิบยืมใช้ซึ่งกันและกัน จะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงแต่ละช่วงมีปัจจัยบางอย่างทางสังคมเป็นตัวกำหนดกำกับไว้ ณ ที่นี้ที่เห็นได้ชัดคือ ช่องทางของสื่อเช่น เทคโนโลยีการถ่ายภาพ วัสดุจากอุตสาหกรรม สื่อดิจิตอล เครือข่ายเน็ตเวิร์คของโลกาภิวัฒน์
ช่องทางของสื่อที่ว่ามานี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับสำนึกของสังคม เพราะเข้ามาแทรกซึมอยู่ในพื้นที่ชีวิตและส่งผลกระทบต่อวิธีคิดของคนจริง ๆ ฉะนั้นแล้วขอบเขตของ คำว่า ร่วมสมัยถึงแม้จะไม่สามารถขีดแบ่งได้ชัดเจนในแง่ของเวลา แต่เราอนุมานเอาโดยจับสภาวะดังกล่าวได้โดย สำนึกหรือ กระบวนทัศน์ของสังคม ณ ช่วงเวลาหนึ่งถึงช่วงเวลาหนึ่ง เราไม่ขีดเส้นของร่วมสมัยไว้ด้วยรูปแบบ แต่ไปให้น้ำหนักกับความคิด เพราะรูปแบบของศิลปะในปัจจุบันในแต่วัฒนธรรมเริ่มกลืนเข้าด้วยกัน ด้วยระบบเชื่อมโลกแบบเน็ตเวิร์ค การหยิบจับรูปแบบในอดีตไม่ใช่ตัวชี้วัดว่าศิลปะชิ้นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอดีตเสมอไป เพราะคำอธิบายของปัจจุบันต่างหากที่เป็นตัวกำหนด นอกจากนี้การหยิบยืมก่อให้เกิดลูกผสมที่สลับซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ความย้อนแย้งประการหนึ่งของศิลปะในคนละวัฒนธรรมหรือคนละประเทศ คือ รูปแบบศิลปะของสองวัฒนธรรมมีแนวโน้มที่เคลื่อนเข้าหาและกลืนกันจนแยกไม่ออกแต่เนื้อหากลับมีการ สร้างเรื่องหรือ คำอธิบายที่พยายามจะแยกตัวเป็นกลุ่มก้อนซึ่งเนื้อหาเป็นความสนใจเฉพาะทาง เฉพาะกลุ่มมากกว่า ในแง่หนึ่งก็เป็นการเปิดพื้นที่ของคนตัวเล็กตัวน้อย แต่อีกแง่คือการกระจัดกระจายแบบต่างคนต่างทำ โพสต์โมเดิร์นก็คือการผสมปนเปเสียจนเส้นแบ่งพร่าเลือน แต่ทิศทางของศิลปะร่วมสมัยกลับพยายามทำให้เนื้อหาชัดเจนและมีความเฉพาะกลุ่มมากขึ้น
คริสต์ทศวรรษ 1800 พัฒนาการทุนนิยมในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ส่งผลให้เกิดการเปล่ียนแปลงทางเทคนิคการผลิตในขั้นมูลฐาน จากวิธีการผลิตที่ใช้มือที่สอดแทรกความคิดสร้างสรรค์ลงในตัวสินค้า มาเป็นการใช้เครื่องจักรซึ่งประหยัดแรงงานการผลิต จากวิถีการผลิตแบบอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน (Domestic System) หรือระบบจ่ายงานไปทําที่บ้าน (Putting-Out System) ซึ่งนายจ้างเป็นผู้ออกค่าวัตถุดิบให้ลูกจ้างนำไปทำการผลิตภายในครัวเรือนของลูกจ้างเอง โดยท่ีลูกจ้างจะเป็นเจ้าของเครื่องมือท่ีใช้ในการผลิต และจะได้รับค่าตอบแทนจากจํานวนการผลิตที่ตนผลิตขึ้นเป็นรายชิ้น กลายมาเป็นการผลิตในระบบโรงงาน (Factory System) ซึ่งลูกจ้างจะต้องเข้ามาทำงานในโรงงานแบบเช้าไปเย็นกลับ หรือ อาจจะพักค้างอยู่ในบริเวณโรงงานนั้นเลย และจะได้ ค่าจ้างเป็นรายวันโดยนายจ้างจะเป็นนายทุน คือเป็นเจ้าของวัตถุดิบท่ีใช้และเป็นเจ้าของทุนและเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด การเปล่ียนแปลงดังกล่าวทำให้วิถีการผลิตแบบเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์สูญหายไป การท่ีสินค้าแต่ละช้ินถูกผลิตโดยเครื่องจักรทำให้นายทุนสามารถควบคุมปริมาณมากน้อยได้ตามต้องการ ชีวิตการทำงานของผู้ใช้แรงงานอยู่แบบแร้นแค้น สิ้นหวัง อดทนเก็บเกี่ยวเม็ดเงิน ซึ่งเป็นค่าตอบแทนจากการใช้แรงกายร่วมกับเครื่องจักร การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตชิ้นงานใหม่ไม่มี เพราะกำลังสมองถูกบั่นทอนไปกับปริมาณสินค้า ที่ต้องผลิตตามเป้าหมายของนายทุน หลังจากนั้นเรื่อยมาทุก ๆ ประเทศก็ดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยระบบโรงงาน และวิถีการผลิตสินค้าที่มีต้นแบบเดียวกัน ไม่มีการสอดแทรกเพื่อต่อยอดแนวความคิดเดิม เพ่ือให้ได้สินค้าเชิงสร้างสรรค์แต่อย่างใด แต่ในปัจจบุันหลายประเทศเช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น ได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มากขึ้น เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เป็นแนวคิดที่จะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งต่อภาคการผลิต บริการภาคการขาย หรือแม้แต่อุตสาหกรรมบันเทิง เป็นแนวคิดที่อยู่บนการทำงานแบบใหม่ ที่มีปัจจัยหลักมาจากความสามารถและทักษะพิเศษของบุคคล มันเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ที่มีกระบวนการนำเอาวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี มารวมเข้าด้วยกันก่อให้เกิดอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ (Creative Industry) หรือ อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม (Culture Industry) ปัจจุบันธุรกิจที่จัดอยู่ในข่ายอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ได้แก่ งานโฆษณา สถาปัตยกรรม งานฝีมือ และการออกแบบ แฟชั่น เครื่องนุ่งห่ม ภาพยนตร์ วิดีโอ การออกแบบกราฟิก ซอฟท์แวร์ การศึกษา การพักผ่อน ดนตรีและผลงานเพลง ศิลปะการแสดงและบันเทิง การเผยแพร่โทรทัศน์ วิทยุ และอินเทอร์เน็ต ผลงานทัศนศิลป์ งานเขียน และงานพิมพ์ต่างๆ John Howkins ได้ให้นิยามของ Creative Economy ไว้ว่า “How people make money from idea” หมายถึงเขามั่งคั่งจากความคิดกันอย่างไร
กลางคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึงปลาย 1960 “ศิลปะประชานิยมหรือ “Pop Art” เป็นศิลปะที่เฉลิมฉลองวัฒนธรรมพ็อพ (Popular Culture) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมระดับมหาชน ที่ถูกจัดว่าเป็นวัฒนธรรมหรือศิลปะระดับล่าง โดยมีศิลปะชั้นสูงเป็นขั้วตรงกันข้าม ศิลปะชั้นสูงที่ว่านี้คือ บรรดางานศิลปะที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นของดีมีคุณภาพ แต่ละชิ้นมีความเป็นต้นแบบต้นฉบับ มีเพียงหนึ่งเดียวไม่เหมือนใคร มีคุณค่าเสียจนสถาบันศิลปะหรือสถาบันระดับรัฐต้องซื้อเก็บสะสมไว้ใน พิพิธภัณฑ์ของประเทศชาติ
ระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1940-1950 แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ (Abstract Expressionism) กระเสือกกระสนแสวงหาชื่อเสียงและการยอมรับ จนกระทั่งนักวิจารณ์ยกย่อง พิพิธภัณฑ์ซื้องานเพื่อเปิดแสดง แต่ชาวบ้านไม่เข้าใจ ภาพเขียนแอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ กลายเป็นศิลปะสมัยใหม่ชั้นสูง เป็นสิ่งที่จำกัดอยู่ในชนชั้นสูงหรือชนชั้นกลางที่มีการศึกษาดี เป็นของจำเพาะสำหรับคนในวงการศิลปะ ตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมพ็อพ ที่เป็นวิถีปฏิบัติและรสนิยมแบบตลาดดาษดื่น เป็นวัฒนธรรมแห่งการเสพสินค้าที่ผลิตด้วยระบบอุตสาหกรรม มีจำนวนมากๆ ทุกชิ้นผลิตออกมาเหมือนกัน คนหมู่มากซื้อมาใช้เหมือนกันไปหมด เทียบไม่ได้กับงานฝีมือ งานสร้างสรรค์ชั้นสูง Pop Art คือแนวศิลปะที่เป็นปฏิกริยาโต้ตอบกับศิลปะลัทธิแอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ ซึ่งเน้นการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก การแสดงความเป็นส่วนตัว มีแนวทางเป็นของตัวเองและเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ แต่ “Pop Art” กลับหยิบยืมเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด เช่น วัสดุสำเร็จรูป มานำเสนออย่างมีชีวิตชีวา งานของ “Pop Art” มักจะมีอารมณ์ขัน ขี้เล่นและชอบเสียดสี เย้ยหยันต่อศิลปะและชีวิต
รูปแบบ วิธีคิด และวิธีทำงานของ Pop Art ได้ส่งอิทธิพลต่อศิลปินและกระแสศิลปะในยุคต่อมาเป็นอย่างมาก ศิลปะในลัทธิหลังสมัยใหม่ หรือ โพสต์โมเดิร์นนิสม์ (Postmodernism) ที่กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมากในไทยขณะนี้ก็เติบโตมาจาก Pop Art นี่เอง คงจะเพราะ Pop Art เล่นกับภาพลักษณ์ และมีการนำเอาการ์ตูน สินค้า และสิ่งออกแบบที่คนชอบ และคุ้นเคยมาใช้นั่นเอง ทำให้ Pop Art เป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไป กลายเป็น ประชานิยมจริงๆ ไม่ใช่แค่แนวคิดเกี่ยวกับของฮิตเท่านั้น แต่ Pop Art ได้ทำให้มันเป็นของฮิตขึ้นจริง ๆ ในความสำเร็จของ Pop Art ในด้านที่เกี่ยวกับการจัดการกับระดับ (High Art / Low Art) อาจมองได้สามทางว่า ศิลปินกลุ่มนี้ได้นำเอาศิลปะวัฒนธรรมจากสองขั้วสูง-ต่ำมาเจอกัน หรืออาจมองได้ว่าพวกเขาได้ทำของต่ำให้สูง นำของระดับล่างมาทำให้เป็นศิลปะชั้นสูง หรือไม่ก็เป็นการทำให้ของสูงโน้มลงมาแตะดิน เป็นการพยายามทำลายหอคอยงาช้างที่พวก โมเดิร์นนิสต์ (Modernist, Modernism) สร้างเอาไว้สูงตระหง่าน สูงขึ้นหิ้งเป็นของเฉพาะกลุ่ม แปลกแยกออกจากสังคม กลายเป็นอะไรที่เป็น อุดมคติเป็นแบบแผนและแข็งตัวจนเกินไป แต่เอาเข้าจริงๆ การทำลายหอคอยงาช้างของ โมเดิร์นนิสต์ แล้วประกาศว่าเป็น โพสต์โมเดิร์น จะทำให้ชาวบ้านเข้าถึงศิลปะมากขึ้นหรือไม่ ยังคงเป็นคำถามที่ชวนคิดอยู่จนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าโดยแนวคิดรวม ๆ ของ Pop Art คือ การท้าทายความคลาสิคอันสูงส่งของศิลปะประเพณีที่อยู่ในกรอบระเบียบอันเคร่งครัด และยังทำการล้อเลียนหยอกเย้ากับความเป็นปัจเจกเฉพาะตัว ละเลยความเป็นต้นฉบับ แปลกใหม่ไม่เหมือนใครตามแนวทางของ ศิลปะสมัยใหม่ (โมเดิร์น อาร์ต)     
แอนดี้ วอร์ฮอล (Andy Warhol) ไม่เป็นเพียงหัวหอกของกลุ่มศิลปินพ็อพ แต่เป็นศิลปินชั้นนำระดับซูเปอร์สตาร์ของอเมริกาหรือของโลกเลยทีเดียว นอกจากจะเป็นศิลปินที่มีผลงานยอดเยี่ยมเป็นที่ชื่นชอบแล้ว วอร์ฮอล ยังเป็นดาวสังคมของนครนิวยอร์คอีกด้วย เรียกได้ว่าทั้งชีวิตและผลงานของเขาเป็น พ็อพมากๆ เลยทีเดียว ลักษณะเฉพาะตัวของ วอร์ฮอล ที่ทุกคนรู้จักดีคือ การทำงานจิตรกรรมด้วยเทคนิคภาพพิมพ์ซิลค์สกรีน เทคนิคดังกล่าวเป็นวิธีการสร้างงานพิมพ์ในระดับอุตสาหกรรม มักจะใช้ในแวดวงโฆษณาขายสินค้า เช่น ทำโปสเตอร์ บิลบอร์ด และพิมพ์ลวดลายลงบนเสื้อยืด ในสมัยนั้นเทคนิคนี้ยังถือว่าเป็นของค่อนข้างใหม่ แอนดี้ วอร์ฮอล ใช้เทคนิคอุตสาหกรรมนี้พิมพ์ภาพดารา นักร้องและคนดังระดับตลาดมหาชน เช่น พิมพ์ภาพ มาริลีน มอนโร อลิซาเบ็ธ เทเลอ และ เอลวิส เพรสลีย์ บ้างก็พิมพ์ภาพผลงานจิตรกรรมระดับคลาสสิคที่ขึ้นหิ้งของโลก เช่น ภาพ โมนา ลิซ่า ภาพเทพ วีนัส ฝีมือ บอตติเซลลี ภาพทั้งหมดนี้ วอร์ฮอล นำมาพิมพ์ด้วยสีฉูดฉาดเตะตาในจำนวนเยอะเรียงกันเป็นแบบสินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตซ้ำได้ทีละมากๆ    
แม้ว่าความเคลื่อนไหวของ Pop Art จะมีความตื่นตัวที่สุดในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่แนวทางของ Pop Art ยังคงร่วมยุคร่วมสมัยกับสังคม และวงการศิลปะในปัจจุบันเป็นอย่างดี เพราะพวกเรายังอยู่ในสังคมยุควัฒนธรรมพ็อพ หรือที่เรียกกันว่าเป็นสังคมยุค หลังสมัยใหม่ (โพสต์โมเดิร์น) กันไปแล้ว เป็นยุคสมัยที่อะไร ๆ จากยุคสมัยใหม่ก็ถูก รื้อถอนและถูกตรวจสอบไปเสียหมด เป็นยุคที่อะไร ๆ ก็ถูก ทำให้พ็อพของสูงก็ถูกทำให้กลายเป็นของสามัญ กลายเป็นสินค้าสำหรับซื้อขายไปเสียทุกอย่าง
review

บริโภคนิยม (Consumerism) โลกาภิวัตน์ คือผลจากกระบวนการพัฒนาที่ต่อเนื่องของระบบทุนนิยมที่มุ่งเข้าสู่การเปลี่ยน คุณค่าวัฒนธรรมและจิตใจ ให้กลายเป็นสินค้าอย่างแนบเนียนจนเราไม่รู้สึกตัว กระบวนการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่จากโลกาภิวัฒน์มีผลต่อเศรษฐกิจและการเมือง แต่ที่เรายังขาดการทำความเข้าใจก็คือ มิติวัฒนธรรมสืบเนื่องมาจาก การไม่สร้างความกระจ่างชัด ต่อปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและผลกระทบภายใต้แรงกระทบและแรงผลัก ดันจากโลกาภิวัฒน์ ปรากฎการณ์ของการบริโภคนิยม (Consumerism) ที่เน้นให้มนุษย์ตั้งเป้าหมายของความสุขและชีวิตของคน ไว้กับการบริโภคให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อันปรากฎขึ้นเป็นกระแสหลัก ชี้นำสังคมในปัจจุบันนั้น ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบทุนนิยมที่เรียกว่า ระบบทุนนิยมสมัยใหม่ (Modern Capitalism) ซึ่งมีการพัฒนาการผลิตอยู่ในระดับที่สูง มีการขยายตัวของกระบวนการผลิตขนาดใหญ่ พัฒนาทางเทคโนโลยี ก่อให้เกิดการเพิ่มศักยภาพของการผลิต ซึ่งตามตรรกะของทุนที่จะต้องมีการเติบโตในแนวขยายอยู่ตลอดเวลา เทคโนโลยีทางการสื่อสารนั้น เจริญก้าวหน้าและ สามารถใช้เผยแพร่ขอมูลข่าวสารต่าง ๆ ออกไปได้อย่างรวดเร็ว และกว้างไกล ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารผ่านดาวเทียม หรือทางสายเคเบิล ทางอินเตอร์เน็ต ทําให้สื่อต่าง ๆ จากต่างประเทศสามารถเผยแพร่ข่าวสาร ได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่เกือบทั่วทุกมุมโลก ดังเช่น สถานีโทรทัศน์ CNN BBC และภาพยนตร์จาก Hollywood หรือ Website ต่าง ๆ การส่งอีเมล์และการใช้อินเตอร์เน็ตในคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เพื่อรับข้อมูลข่าวสาร ทําให้สื่อเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อประเทศที่บริโภคสื่อนั้นๆ
ฌอง โบดริยาร์ด (Jean Baudrillard) เป็นนักคิดวิพากษ์สังคมบริโภคนิยม โดยโบดริยาร์ดมองเห็นว่าการบริโภคในปัจจุบันไม่ใช่การบริโภคเพื่อสนองตอบ ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน หรือการใช้ประโยชน์โดยตรงจากสินค้าอีกต่อไป หากแต่กลายเป็นการบริโภคเชิงความหมาย หรือที่เรียกว่า การบริโภคเชิงสัญญะ” (consumption of sign)สัญญะทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสิ่งอื่น ปฏิบัติหน้าที่แทนสิ่งอื่นที่ขาดหายไป ดังนั้นสิ่งของต่างๆไม่ได้มีคุณค่าในตัวเอง แต่ถูกกำหนดให้เป็นส่วนประกอบในการสร้างบรรยากาศของระบบคุณค่าระบบใดระบบ หนึ่ง ที่ดำรงอยู่มากมายในสังคมปัจจุบัน คุณค่าที่สัญญะสร้างขึ้นนี้เองได้ทำให้สิ่งของสามารถรวมเข้าไปอยู่ในระบบ หนึ่งๆได้ ในปัจจุบันนี้การบริโภคสินค้าต่างๆของคนทั่วไป เป็นการบริโภคเชิงสัญญะทั้งสิ้น กล่าวคือ ความต้องการสำหรับสังคมบริโภคจึงไม่ใช่ความต้องการที่ว่าวัตถุนั้นใช้ทำหน้าที่อะไร แต่เป็นความต้องการ ความแตกต่างที่เป็นความแตกต่างใน ความหมายของสังคมสังคมในปัจจุบันจึงเป็นสังคมที่มีความต้องการอย่างไม่สิ้นสุด ไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริง แต่เป็นผลมาจากขอบเขตวัฒนธรรม การบริโภคจึงเป็นเรื่องของการโอ้อวด เป็นการบริโภคจินตนาการ บริโภคความฝัน

ทฤษฎีบริโภคนิยมนั้นใช้กับงานวิจัยเพื่อการวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหา ต่างๆในสังคมแยกแยะกลุ่มประเภทของวัฒนธรรม และทำให้เข้าใจระบบกระบวนการของบริโภคนิยมที่แซกตัวเข้ามาในวัฒธรรมต่างๆ อย่างแนบเนียน โดยที่ โบดิยาร์ด ให้นิยามของบริโภคนิยมในเชิงความหมาย หรือ การบริโภคเชิงสัญญะ ซึ่งสัญญะนั้นทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสิ่งอื่น นั่นหมายความว่า สิ่งของต่างๆ ไม่ได้มีคุณค่าในตัวมันเอง แต่ถูกประกอบขึ้นให้เป็นระบบคุณค่าระบบใดระบบหนึ่งเท่านั้น ความต้องการต่างๆทางวัตถุนั้น ไม่ได้เป็นเพียงแค่ต้องการวัตถุ แต่เป็นการช่วงชิงพื้นที่ของหน้าตาทางสังคม เพื่อไม่เป็นการถูกล้อ ถูกรังเกียจ ถูกเหยียดหยาม แต่ความจริงแล้วมันเป็นแค่การโอ้อวดเป็นการบริโภคจินตนาการเท่านั้นเอง

วัฒนธรรมประชานิยม (Popular Culture)
Adorno คัดค้านแนวคิดทุนนิยมเนื่องจากเห็นว่า ทุนนิยมทำให้มนุษย์ก้าวเข้าสู่ระบบการผลิตอุตสาหกรรมวัฒนธรรม (Culture Industry) ซึ่งต่างไปจากศิลปะที่แท้จริง (True Art) Adorno เห็นว่าไม่ใช่แค่เป็นอันตราย และนำไปสู่ความล้มเหลวดังเช่นที่ Marx ได้เคยทำนายไว้เท่านั้น แต่ดูเหมือนจะฝังรากลึกลงไปมากกว่า ทั้งนี้ Marx ได้เน้นเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ในขณะที่ Adorno มองลึกลงไปถึงบทบาทของวัฒนธรรมในการเสริมความมั่นคงให้กับสถานะดั้งเดิม (Status quo) ของกลุ่มผู้มีอำนาจหรือนายทุน
วัฒนธรรมประชานิยม (Popular Culture) เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่สร้างความบันเทิง ความเย้ายวนให้แก่ผู้คนและทำให้ผู้คนขาดความสนใจที่จะโค่นล้มหรือต่อต้าน ระบบทุนนิยม Adorno เสนอแนะว่า อุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่นำไปสู่ความวุ่นวายนั้นต้องถูกนำมาถกเถียงร่วมกัน (Debased) และสร้างผลผลิตที่ละเอียดอ่อนมาแทนที่ซึ่งน่าจะเป็นวิถีทางที่จะนำประชาชนไป สู่ชีวิตทางสังคมที่ถูกต้องแท้จริง ความต้องการเทียม (False needs) ที่ ได้รับสั่งสมให้แก่ประชาชนโดยอุตสาหกรรมวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์และสร้างความพอใจให้กับระบบทุนนิยม แทนที่จะสร้างความต้องการที่แท้จริงอันมีอิสรภาพ และเต็มไปด้วยศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ ความคิดสร้างสรรค์ และความสุขที่แท้จริง สินค้าเพี่อสร้างความเริงรมย์ด้านวัตถุ (Commodity fetishism) ซึ่งได้รับการโปรโมทผ่านการตลาด การโฆษณา และอุตสาหกรรมสื่อ เป็นวิธีการที่สร้างความสัมพันธ์ทางสังคมและประสบการณ์ทางวัฒนธรรมที่มุ่ง เน้นด้านผลประโยชน์ในตัวเงิน ทำให้คนเราเกิดความพึงพอใจในสิ่งใดๆเพราะว่ามันตีราคาเป็นเงินได้ ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับดนตรีและสื่อแบบ Popular ซึ่งถูกกำหนดมาเป็นแบบมาตรฐานเดียวกัน (Standardization) และสร้างความเป็นปัจเจกบุคคลแบบเทียม ๆ (Pseudo-individualization) คือ แสดงให้เห็นว่า มันมีความแตกต่างหลากหลายแต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย ผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมวัฒนธรรมอาจจะออกมาในรูปของการแสดงอารมณ์ (Emotional) หรือการเคลื่อนไหวของสิ่งที่ปรากฏ (apparently moving) แต่ Adorno มองว่ามันเป็นเสมือนแค่ยาระบาย เราอาจจะชดเชยความรู้สึกต่าง ๆ ได้จากเพลงหรือภาพยนตร์ชีวิต ซึ่งน่าจะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นกว่านั้นก็ได้
            
อุตสาหกรรมวัฒนธรรม (Culture Industry) หมายถึง กระบวนการผลิตอย่างเป็นอุตสาหกรรมของสิ่งต่างๆ ตั้งแต่สินค้าไปจนถึงความเคยชินในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์ต่างๆ และการล่อลวงมวลชนที่ทำให้เป็นลักษณะทางวัฒนธรรม โดยกล่าวเสริมว่าสำหรับ Adorno อุตสาหกรรมวัฒนธรรมไม่ได้หมายถึงการทำวัฒนธรรมให้เป็นอุตสาหกรรม แต่หมายถึงวิธีคิดหรือวิธีจัดการกระบวนการผลิตทั้งหมดมีลักษณะที่เป็น อุตสาหกรรม กระบวนการผลิตที่ไม่ได้ผลิตแค่ของแต่ละชิ้นทีละชิ้นๆ แต่เป็นกระบวนการผลิตแบบจำนวนมาก (mass) ทำให้สินค้าแพร่กระจายไปในตลาดในสังคม แล้วทุกคนก็ต่างบริโภค ซึ่งการบริโภคหรือการใช้สินค้าที่มีลักษณะมวลชนเหล่านี้มันหล่อหลอมให้ทุกคน คิดว่ามีลักษณะของการใช้สินค้าที่คล้ายหรือเหมือนกัน มีลักษณะการใช้ชีวิตที่เหมือนกัน และทุกคนสามารถจะเหมือนกันหรือคล้ายกันได้ กล่าวคือ เป็นการหล่อหลอมความเป็นวัฒนธรรมให้เกิดขึ้น ซึ่งวัฒนธรรมในแง่นี้หมายถึงสิ่งที่ผูกโยงเข้ากับลักษณะของการใช้ชีวิตไม่เพียงแต่การบริโภคในตัวเองอย่างเดียวที่ทำให้ลักษณะทางวัฒนธรรมเกิดขึ้น ได้ แต่ต้องพิจารณารวมถึงอิทธิพลต่างๆ โดยเฉพาะอิทธิพลของสื่อด้วย ซึ่ง ดร.เกษม เพ็ญพินันท์ กล่าวถึง Adorno ว่าได้พูดถึงสื่อไว้อยู่มาก เป็นต้นว่า ชีวิตของผู้คน รูปแบบการดำรงชีวิตของผู้คนไม่ได้ต่างจากสิ่งที่เห็นผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนตร์ หรือ โทรทัศน์ สิ่งเหล่านี้สำหรับ Adorno คือ การล่อลวงมวลชน (mass deception) นี่คือการล่อลวงที่ผู้คนใช้ชีวิตไม่ได้แตกต่างกัน แนวคิดอุตสาหกรรมวัฒนธรรม เป็นประเด็นที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม ของระบบทุนนิยม แต่ต้องการตั้งคำถามในเชิงวิพากษ์ และอธิบายการแปรสภาพของสังคมในระบบทุนนิยม พูดง่ายๆ ว่าต้องการกระแทกหรือวิพากษ์สิ่งที่เป็นพลวัตในสังคมทุนนิยมเอง ซึ่งนำไปสู่ภาวะที่เรียกว่าความถดถอยของมนุษยชาติ


นำแนวคิดเรื่อง อุตสาหกรรมวัฒนธรรม มาใช้ในงานวิจัยครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์ถึงการล่อลวงมวลชนให้เกิดความเคยชิน กับการบริโภค ที่หล่อหลอมให้ทุกคนใช้สินค้า ใช้ชีวิต ที่มีลักษณะเหมือนๆกัน ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของสื่อ เพราะชีวิตของคนในปัจจุบันถูกผูกติดไว้กับสื่อต่างๆ เพื่อนำไปใช้ตั้งคำถามวิพากษ์การแปรสภาพของสังคมและยังไปสัมพันธ์กับแนวคิด บริโภคนิยมข้างต้นอีกด้วย

แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คําว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์” (Creative Economy) ปรากฏขึ้นในช่วงของการเปลี่ยนผ่านสหัสวรรษในปี 2000 เมื่อนิตยสาร Business Week ได้ลงบทความเรื่อง “The Creative Economy” ซึ่งกล่าวถึงโฉมหน้าของเศรษฐกิจ ในศตวรรษใหม่ว่า สิ่งสําคัญที่สุดสําหรับการทําธุรกิจในศตวรรษที่ 21 คือ พลังของความคิด โดยให้เหตุผลว่า นัก ลงทุนทั่วโลกกําลังตกอยู่ในความเสี่ยงเพราะเงินทุนที่มีอยู่ในมือนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่ขาดแคลนอีกต่อไป แต่สิ่งที่ ขาดแคลนกลับเป็นความคิดดีๆ สําหรับการลงทุน “Super Creative Economy”, BrandAge Essential, (2009)   สําหรับแนวคิด เศรษฐกิจสร้างสรรค์เริ่มเป็นที่ยอมรับและถูกพูดถึงกันอย่างมากจากงานเขียนของ จอห์น ฮาวกินส์ (John Howkins) ในหนังสือชื่อ The Creative Economy ซึ่งให้คํานิยามของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไว้ ว่า การสร้างมูลค่าที่เกิดจากความคิดของมนุษย์สาขาการผลิตที่พัฒนาไปสู่เศรษฐกิจ จะเรียกว่าอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ (Creative Industries) หมายถึงกลุ่มกิจกรรมการผลิตที่ต้องพึ่งพาความคิดสร้างสรรค์เป็นวัตถุดิบ สําคัญ โดยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ถูกนํามาใช้อย่างกว้างขวางในนานาประเทศนิยามและ คําจํากัดความของแนวคิด เศรษฐกิจสร้างสรรค์หรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่จัดเป็น อุตสาหกรรมสร้างสรรค์นั้น ยังคงมีลักษณะเป็นนามธรรมและขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศที่นํามาปรับใช้ให้เข้า กับ ระบบเศรษฐกิจของตนเอง โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกที่มักจะพูดถึงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ใช้ทุนทาง วัฒนธรรมเป็นหลัก ทําให้เกิดความสับสนระหว่างคําว่า อุตสาหกรรมวัฒนธรรม (Cultural Industry)” อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry) และ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)” อยู่ไม่น้อย ซึ่งความสับสนและความไม่เข้าใจดังกล่าวทําให้การแบ่งประเภทและขอบเขตใน ปัจจุบันยังมีความไม่ชัดเจนและยังไม่เป็นสากล ดังนั้นความหมายของ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จึงมีความหลากหลายตามแต่ละหน่วยงานและแต่ละประเทศให้คํานิยาม โดยคําจัดความที่แพร่ หลายอย่างกว้างขวาง ดังนี้ องค์การความร่วมมือเพื่อการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development: UNCTAD) ได้ให้ความหมายในบริบทของการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจไว้ว่า เป็นแนวความคิด การพัฒนาบนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเป็น กลไกสําคัญในการกระจายรายได้ สร้างงาน และสร้างรายได้จากเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความ สมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคม เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางวัฒนธรรม การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ มิติทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมเข้ากับเทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญาและการท่องเที่ยวองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) เน้นบริบท ของทรัพย์สินทางปัญญาว่า ประกอบไปด้วยอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและ ศิลปะทั้งหมด ทั้งในรูปสินค้าและบริการที่ต้องอาศัยความพยายามในการสร้างสรรค์งาน ไม่ว่าจะเป็นการทําขึ้นมา โดยทันทีในขณะนั้นหรือผ่านกระบวนการผลิตมาก่อน องค์การยูเนสโก (The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ได้ยึดนิยามที่นําเสนอโดยกระทรวงวัฒนธรรม สื่อและการกีฬาของสหราชอาณาจักร คือ อุตสาหกรรม ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ความชํานาญ และความสามารถที่มีศักยภาพในการสร้างงานและความมั่งคั่งโดยการ ผลิตและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา สหราชอาณาจักร เป็นประเทศต้นแบบที่ได้รับการยอมรับให้เป็น ศูนย์กลางความสร้างสรรค์ของ โลก” (World Creative Hub) ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ดังนี้ เศรษฐกิจที่ประกอบด้วยอุตสาหกรรม ที่มีรากฐานมาจากความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล ทักษะความชํานาญ และความสามารถ พิเศษ ซึ่งสามารถนํา ไปใช้ประโยชน์ในการสร้างความมั่งคั่งและสร้างงานให้เกิดขึ้นได้ โดยที่สามารถสั่งสมและส่งผ่าน จาก รุ่นเก่าสู่รุ่นใหม่ด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจอห์น ฮาวกินส์ (John Howkins) โดยให้ความสําคัญกับการมีความคิดใหม่ๆ ที่ไม่ได้ลอกเลียนแบบ จากที่ไหนมา และนําไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมาได้ และเมื่อมีความคิดแล้วจะต้องนําความคิดดังกล่าวมาสร้างสรรค์เป็นผลงานได้อีก ด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นพื้นฐานของการหาวิธีในการทํางานใหม่ๆ ที่จะช่วยสร้างเอกลักษณ์ และสามารถเพิ่มมูลค่าในตัวสินค้าและบริการได้ ซึ่งมูลค่าที่เพิ่มขึ้นไม่อาจที่จะประเมินได้อย่างแน่นอน แม้ว่าอาจจะ มีการนําเครื่องมือทางด้านทรัพย์สินทางปัญญามาใช้ในการประเมินมูลค่าก็ตาม เนื่องจากแต่ละคนจะให้คุณค่าต่อ สิ่งๆ หนึ่งไม่เท่ากัน จึงทําให้การประเมินดังกล่าวไม่เที่ยงตรงมากนัก อย่างไรก็ตาม ประเทศในกลุ่มยุโรปได้มีการ ประเมินค่าเหล่านี้โดยอ้างอิงจากราคาประมูลที่มีการซื้อขายกันในตลาด ณ ขณะนั้น


แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นำมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจที่สะท้อนถึงกระบวนการซึ่ง รวมเอาวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกัน มีองค์ประกอบร่วมของแนวคิด การขับเคลื่อนคือเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ การศึกษา การสร้างสรรค์งานและการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่เชื่อมโยง กับรากฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคมและเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ซึ่งสัมพันธ์กับกระบวนการบริโภคนิยม (Consumerism) โดยอาศัยวัฒนธรรมประชานิยมเป็นตัวส่งผ่านกระแสของบริโภคนิยม (Popular Culture) ผ่านทางวัฒนธรรมมวลชน

ศิลปะประชานิยม (Pop Art) ศิลปะประเภท Pop Art หรือ ศิลปประชานิยม เอกลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงอํานาจในการผลิต ของระบบทุนนิยม และการผสมผสานระหว่างสีสันอันหลากหลายกับสิ่งที่เห็นได้ในชีวิตประจําวัน เช่น บุคคล สําคัญหรือสินค้าในสมัยนั้น ศิลปะได้ ก็จําเป็นที่จะต้องขายตัวเองด้วยใน ทุกวิถีทางที่จะพึงกระทําได้ นั่นคือสิ่งที่ ศิลปในรุ่นใหม่พึงทําตาม หรืออีกความหมาย นั่นคือการขายศักดิ์ศรีของตัวเอง เช่น งานที่บอกว่าขายเซ็กซ์แล้วเรียก ว่าศิลปะ แต่ทั้งหมดนั้นก็ทําให้ศิลปะดูเป็นกลุ่มก้อนของยุคสมัยเฉกเช่นในปัจจุบัน Pop Life นั้นแสนจะสนุก บันเทิง เจ้าเล่ห์และสวยงาม นี่ก็คือนิยามของศิลปะในความเป็น Pop ที่สําคัญคือมันเปลี่ยนชะตาชีวิตของศิลปินธรรมดาๆคนหนึ่งให้กลายเป็นเศรษฐี ใน ชั่วพริบตา มากกว่าการรอทํางานศิลปะจนเกิดแล้วตายไปหลายชาติก็ไม่เท่ากับ ขายหัวกะโหลกแค่ อันเดียวจนรวย ซึ่งน่าจะมีใครเอาเนื้อเรื่องนี้ไปทําเป็นละครน้ําเน่ามั่งน่าจะสนุกดีนะ ครับ ทั้งหมดที่เล่ามาก็เป็นแค่โครงคร่าวๆของนิทรรศการนี้ เพื่อให้พอมองออกถึงศิลปะที่เปลี่ยนแปลงจนกลายมาเป็น วัฒนธรรมอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งส่งผลมายังเช่นในปัจจุบัน จนงานศิลปะและธุรกิจนั้นเริ่มประสานร่วมกันอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ผู้ผลิตและผู้ซื้อต่างเข้าใจในวัตถุประสงค์ของสินค้าว่า ทุกสิ่งที่ผลิตขึ้นมานั้น ก็เพื่อการค้าขาย หาใช่ ตั้งดูเพลิดเพลินไม่
ศิลปะประชานิยม (Pop Art) นั้นเสนอแนวทางของการวิพากษ์สังคมผ่านทางศิลปะโดยอาศัย วิถีชีวิต หรือเหตุการณ์ ณ ปัจจุบันที่ดําเนินอยู่ เป็นแรงพลักดันในการวิพากษ์ ซึ่งแนวความคิดของศิลปะประชานิยมนั้นผลิตงานศิลปะออกมาให้รูปแบบที่สะท้อน ถึงวัฒนธรรมที่ทุกคนพบเจอได้ทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงชนชั้น และเข้าใจได้ในหลากหลายแง่มุมทางสังคม เป็นศิลปะที่ หยอกล้อ ถากถาง เสียดสี มีอารมณ์ขัน และสนุกสนาน ไม่เพียงแต่สะท้อนสังคมเชิง อุตสาหกรรมแล้วยังสะท้อนถึงการบริโภคนิยมต่างๆด้วย

frame works process





Source

ระบบปฎิบัติการของการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์

สามเหลี่ยม Maslow

http://zcoempton.blogspot.com/2010_10_01_archive.html
อธิบายถึงลำดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ แบ่งส่วนๆตามสามเหลี่ยมและแยกความสำคัญเป็นชั้นๆ
Physiological needs                |  ความต้องการทางสรีรวิทยา : ความต้องการพื้นฐาน หายใจ ต้องกินข้าว ต้องดื่มน้ำ ต้องมีเพศสัมพันธ์
                                                   ต้องขับถ่าย
                                                |  ความต้องการพื้นฐานทางกายภาพ ถูกปรุงแต่งด้วยสื่อหรือสิ่งเร้าภายนอกจนลืมย้อนกลับไปดูที่แก่นแท้
                                                   ดูแค่รูปลักษณ์ภายนอกที่ถูกสร้างขึ้นมา
sefty  needs                             |  ความต้องการทางความปลอดภัย : ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยในด้านต่างๆ ทั้งความรู้สึกปลอดภัยทางร่างกาย
                                                    ความมั่นคงในหน้าที่การงาน การเงิน มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดจากโรคภัย
                                                 |  ความรู้สึกปลอดภัยต่างๆนาๆ ป้องกันจากสิ่งเร้าภายนอก จนปิดกั้นตัวเองออกจากโลกแห่งความเป็นจริง
                                                    และ หันกลับไปสู่โลกที่เป็นโลกเสมือนที่สามารถสร้างสรรค์ได้ตามที่เราต้องการ
Belongingness and love need  |  ความต้องการทางความเป็นเจ้าของและความรัก : การผูกพันกับคนอื่น การได้รับการยอมรับและการเป็น
                                                    เจ้าของ
                                                 |  ความต้องการมีสังคม เพื่อน ครอบครัว รักใคร่ ก่อให้เกิดการปรุงแต่งตัวตนจนทำให้มีกรอบหรือหน้ากาก
                                                    ที่มาครอบตัวตนที่แท้จริงเอาไว้อย่างแนบชิด
esteem needs                           |  ความต้องการทางการยกย่อง : การบรรลุผลสำเร็จ การมีความสามารถ การได้รับการยอมรับและการรู้จัก  
                                                     จากคนอื่น
                                                  |  การถูกยอมรับ ยกย่อง และภาคภูมิใจในตนเอง ทำให้ตัวปัจเจกรู้สึกอิ่มเอมใจ ปิติยินดี จนลืมไปว่าแท้จริงแล้ว
                                                     มันเป็นเพียงสิ่งลวงที่อยู่ไม่นานก็ต้องสลายหายไปตามกาลเวลา การสร้างสิ่งเทียมจำลองขึ้นมาเพื่อดำรง
                                                     ความพราวนั้นไว้ หรือการประวารณาตัวเองให้เป็นที่ยอมรับในโลกเสมือนจึงมีอิทธิพลมากสำหรับ บุคคลที่
                                                     ต้องการการถูกยอมรับยกย่องเชิดชู ในสังคม
cognitive needs                        |  ความต้องการทางการรู้ : การรู้ การเข้าใจและการสำรวจ
                                                 |  ชั้นบนสุด เมื่อบุคคลรู้แจ้งถึงความว่างเปล่า ของสังคมที่เน่าเหม็นจะกลับมาคิดทบทวนถึงสิ่งที่ได้กระทำไป และ
                                                    เข้าใจความเป็นไปของสังคมถึงการลวงหลอก หลอกล่อจากสื่อต่างๆ แฟชั่น หรือสิ่งนอกกาย ทำให้เข้าใจว่า
                                                    แท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นจริงดังที่เราคิดไว้ตั้งแต่แรกเลยก็เป็นได้


Identity, Survival and Change
(อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม การดำรงชีวิตและการเปลี่ยนแปลง)
อธิบายเรื่องของอัตลักษณ์ในทางวัฒนธรรมการดำรงชีวิตและการเปลี่ยนแปลงโดยการ บ่งบอกอัตลักษณ์ทางเชื้อชาติของกลุ่มชน ฮีโร่ทางวัฒนธรรม(Culture heroes)ว่าเป็นเรื่องที่แสดงถึงความสำคัญของสัญลักษณ์ประจำกลุ่มและความภาค ภูมิใจประจำกลุ่ม

อัตถิภาวะนิยมไซเบอร์
ภาวะที่ต้องการจะไปให้ถึงความเป็นบุคคลพิเศษ แต่ไปไม่ถึงเช่นนี้ทำให้หลายๆคนสร้างจินตนาการ และโลกส่วนตัวที่ตนมีความสำคัญขึ้นมาเอง อันจะเห็นได้ชัดในโลกอินเทอร์เน็ต ที่การสร้างเว็บไซต์ที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวในการนำเสนออัตลักษณ์ของตนนั้น เป็นที่นิยมสูงมาก อย่างเช่น Hi5.com, MySpace.com, Multiply.com เป็นต้นยังไม่รวมถึงการโพสต์ข้อความต่างๆ ตามเว็บบอร์ดชุมชนเสมือนที่ทุกคนพยายามจะสร้างความแตกต่างออกมาจากผู้อื่น เพื่อให้ตนนั้นโดดเด่นกว่าใคร โลกอินเทอร์เน็ตจึงเต็มไปด้วย Hero และ Idolขึ้นมา มากมายจากสงครามการแย่งสร้างอัตลักษณ์เหล่านี้หลายครั้งที่ความแตกต่างในโลก เสมือน ไม่ได้เกิดขึ้นจริงในโลกแห่งความเป็นจริง ทำให้บุคคลรู้สึกตัวตนแยกขาดเป็นสองส่วนที่ไม่สัมพันธ์กัน ความเป็นเจ้าของอัตลักษณ์ในอินเทอร์เน็ตจะขาดลงเมื่อต้องก้าวเดินออกมาสู่ ชีวิตจริงหลายคนจึงเสพติดการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถอนตัวไม่ขึ้น ด้วยสำนึกความเป็นเจ้าเข้าเจ้าของที่ไม่อาจละวาง ทิ้งความเป็นคนสำคัญของตนในโลกเสมือนนั้น จิตใจจึงมีสำนึกเรียกร้องหาตนเองที่แยกขาดอยู่กันบนโลกที่แตกต่างกันอยู่ เสมอ เกิดความเหงาที่ซับซ้อนอยู่บนเส้นแบ่งระหว่างโลกความจริงและโลกเสมือน ที่อัตลักษณ์ของตนบนสองโลกมีความหมายไม่เท่ากัน
คนในปัจจุบันมีสำนึกต่อความรักในรูปแบบของการหาคนที่มีความหมายในตัวตนเชิง แนวคิดเหมือน หรือใกล้เคียงกับตนให้มากที่สุดสภาวการณ์คลิ้ก ใช่ใจตรงกัน นิสัยเราเหมือนกัน เป็นความสมพงษ์ในการพบรักยุคใหม่ซึ่งได้รับการอำนวยความสะดวกด้วยเว็บไซต์หา คู่และ โปรแกรมเครือข่ายการสนทนาต่างๆ ในการค้นหาคนๆนั้นโดยในที่สุดแล้วการสร้างอัตลักษณ์ใน อินเทอร์เน็ตจึงกลายเป็นการประกาศหาคนที่คล้ายกันมาเจอกันให้มากที่สุดเพื่อ จะได้พบคนที่เหมือนกันที่สุดโดยไว จากสำนึกเรื่องเวลาของโลกดิจิตอลที่มีทางเลือกในการสร้างเส้นทางเวลาแบบผสม ผสานที่ทำให้การได้ทำความรู้จักคนพร้อมกันเยอะๆนั้นเป็นไปได้ภาวการณ์พบรัก เช่นนี้แตกต่างไปจากการคบหาดูใจของคนในอดีต ที่ต้องการการศึกษาดูใจให้มากกว่าการเทียบเคียงอัตลักษณ์กันในปัจจุบัน ซึ่งกระบวนการเช่นนั้นเกิดในหมู่ผู้เล่น อินเทอร์เน็ตได้ยากยิ่งเพราะเป็นกระบวนการที่อาศัยเวลา และความแน่วแน่สูง สำนึกต่อเรื่องเวลาต้องมีรูปแบบที่เป็นเส้นทางเดี่ยวที่ไม่อาจซ้อนทับกันได้ ความรักของคนในอดีตจึงมีลักษณะของ ความรักเดียวใจเดียว มั่นคงตราบชั่วฟ้าดินสลาย เป็นอุดมคติแห่งวัฒนธรรมความรักแบบโรแมนติก ที่ได้ลดน้อยถอยลงและเสื่อมสลายไปทุกวันนอกจากนี้การเทียบเคียงอัตลักษณ์ เพื่อเลือกคู่ของคนในปัจจุบัน ก็เกิดปัญหาขึ้น นั่นคือการไม่ได้ภาพอัตลักษณ์แท้จริงของคนที่ตนสนใจเลือกมาเทียบกับตน เพราะอัตลักษณ์ที่ได้รับรู้จากอินเทอร์เน็ตเป็นเพียงการสร้างสื่อจากแนวคิด ของเจ้าของพื้นที่แห่งอัตลักษณ์เสมือนเพียงเท่านั้นโดยเป็นตัวตนอุดมคติซึ่ง อาจไม่ได้สัมพันธ์กับความเป็นจริงใดๆของบุคคลนั้นเลยภาพมายานั้นล่อหลอกการ รับรู้ของแต่ละฝ่าย ดึงดูดเข้าหากันในชุมชนของกลุ่มอัตลักษณ์เดียวกันแต่เมื่อเกิดปฏิสัมพันธ์ใน โลกความเป็นจริง กลับไม่มีความเหมือนกันในหลายๆด้านเกิดขึ้นจริงแต่อย่างใดซึ่งก็ทำให้หลาย คู่ที่พบรักกันผ่านอินเทอร์เน็ตไม่อาจคบกันได้ยืดยาวเพราะความเหลื่อมล้ำ ระหว่างอัตลักษณ์ในโลกเสมือนและโลกความเป็นจริงของแต่ละบุคคลนั่นเองแต่ก็ ยังไม่ใช่ประเด็นปัญหาร้ายแรงนัก เพราะสำนึกเรื่องเวลาและพื้นที่ของโลกดิจิตอลทำให้ไม่มีความจำเป็นต้อง รอมชอม ทนอยู่ร่วมกันตราบชั่วฟ้าดินสลาย หลังจากเริ่มปฏิสัมพันธ์ทางความรักกันแล้วเมื่อไม่พอใจก็หาบุคคลใหม่ที่ยัง เสนอตนเป็นตัวเลือกอย่างดาษดื่นในโลกอินเทอร์เน็ตอีกมากมายวัฒนธรรมความรัก ในปัจจุบันจึงมีความเป็นชั่วคราวสูง และหลายครั้งเกิดการซ้อนทับกันของช่วงเวลาการคบหากันอีกด้วย
แต่บางคู่ที่รู้จักกันผ่านอินเทอร์เน็ตก็คบหากันได้ยาวนานแม้ตัวตนในโลกแห่ง ความเป็นจริงจะแตกต่างต่างจากโลกเสมือนก็ตามหลายคู่ถึงกับเลือกอุดมคติแบบโร แมนติกแต่งงานอยู่ด้วยกันตราบชั่วฟ้าดินสลายซึ่งอาจเป็นเพราะพวกเขาต่าง เลือกจะรับรู้อัตลักษณ์ในโลกเสมือนของแต่ละฝ่ายมากกว่าอัตลักษณ์ที่เป็นตัว ตนความรักจึงเกิดขึ้นได้แต่ก็เป็นความรักเชิงจิตนาการต่อกันการไม่รับรู้ต่อ ความเป็นจริงเช่นนี้ก่อให้เกิดการบริโภควัฒนธรรมความรักเพียงเชิงแนวคิด หาได้รับรู้ต่อปฏิสัมพันธ์จริงในชีวิตไม่การแต่งงาน การอยู่ร่วมกัน ถูกใช้ในเชิงสัญลักษณ์ด้วยภาวะไร้สำนึกไปตามค่านิยมที่ไม่ได้สัมพันธ์กับ ความต้องการแท้จริง (deception) การคบกันเกิดขึ้นเพราะการอยู่คนเดียวเป็นเรื่องแปลกของสังคม การแต่งงานบางครั้งเป็นไปเพื่อการรักษาสถานภาพทางสังคมสิ่งเหล่านี้แทบจะ เป็นธรรมชาติใหม่ของการใช้ชีวิตของสัตว์สังคมที่เรียกว่าคนไปแล้วปัจจัยที่ น่าจะจำเป็นต่อการเป็นปัจเจกชน คือการมีสติเท่าทันต่อการรับรู้เข้าใจความต้องการของตนเอง และการให้คุณค่าสิ่งต่างๆจากสังคมไม่ปล่อยให้ตนเองไหลไปสู่ทิศทางที่ใครขีด ไว้ให้เดินแถวตามกันไปอิสรภาพที่แท้จริงของปัจเจกชนตามแนวคิดอัตถิภาวนิยม นั้นแทบไม่มีทางเกิดขึ้นได้จริงเลยในโลกที่ถูกร่วมสร้างแนวคิดต่างๆผ่าน วัฒนธรรมมวลชน ซึ่งแม้แต่วัฒนธรรมความรักก็ไม่ใช่ความจริงแท้ที่สามารถให้ความหมายดีๆกับ ชีวิตในระยะยาวๆได้หรือเราจะต้องพึ่งพาความสุขสั้นๆจากความรักหลายๆครั้งไป อย่างไม่รู้จบตามพรหมลิขิตทางเทคโนโลยีเช่นนี้ตลอดไปกันแน่